การเสริมสร้างครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงและเจ็บป่วยระยะสุดท้าย

การเสริมสร้างครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงและเจ็บป่วยระยะสุดท้าย

Family and Community Empowerment for Bedridden and Palliative Care for Elderly

บทคัดย่อ

การศึกษา เรื่อง “การเสริมสร้างครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงและเจ็บป่วยระย ะ
สุดท้าย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความทุกข์และการเผชิญปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง รวมทั้งพัฒนา
รูปแบบการดูแล ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ให้การดูแลหลักจานวน 45 คน ใน 14 ชุมชนของเขตเทศบาลเมืองคูคต
อาเภอลาลูกกา จังหวัดปทุมธานี นอกจากนั้น ผู้ให้ข้อมูลหลักอีกจานวน 20 คนได้ถูกเชิญเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักใน
การศึกษาเชิงลึก พร้อมกับการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการ AIC (Appreciation-
Influence-Control) ข้อมูลทั้งหมดได้นามาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อจัด
หมวดหมู่และจัดระบบความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเตียงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วงระหว่าง 71-80 ส่วน
ใหญ่กลายเป็นผู้สูงอายุติดเตียงจากการป่วยด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบ/ แตก และมีภาวะติดเตียงมาเป็น
เวลา 1-5 ปี ขณะที่ผู้ให้การดูแลหลักส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงเช่นกัน มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 51-60 ปี และส่วน
ใหญ่มีสถานภาพสมรส เมื่อพิจารณาถึงภาวะเครียดและภาวะสมองของผู้ให้การดูแลหลัก พบว่า ร้อยละ 10 มี
ภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 36.36 มีภาวะเครียดในระดับสูง และร้อยละ 56.82 มีชีวิตอยู่ท่ามกลางภาวะซึมเศร้า
อีกทั้ง 3 ใน 4 ของผู้ให้การดูแลหลักมีความสุขของตัวเองน้อยกว่าคนทั่วไป และ เมื่อประเมินคุณภาพชีวิตด้วย
แบบประเมิน SF-36 Thai version พบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ให้การดูแลหลักจัดอยู่ในระดับ “ไม่ดี”
สถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคในการให้การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง พบว่า มาจากเงื่อนไขสาคัญ 5
ประการ คือ (1) อัตลักษณ์ส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ (2) อัตลักษณ์ส่วนบุคคลของผู้ดูแล (3) กลไกของครอบครัว
(4) ระบบการแพทย์ (5) สังคมและสิ่งแวดล้อม หากพิจารณาความต้องการการช่วยเหลือ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง
ต้องการ (1) ระบบการแพทย์ฉุกเฉินในภาวะวิกฤต (2) การขึ้นทะเบียนคนพิการ (3) การปรับเปลี่ยนรูปแบบของ
การบริการ (4) การให้บริการที่บ้าน (5) การเยี่ยมบ้าน (6) การถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการแพทย์เพื่อการปฏิบัติ
เองได้ที่บ้าน (7) การสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และชีวิตประจาวันของคนไข้ (8) การเพิ่มสิทธิเบิกจ่าย
ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในระบบประกันสุขภาพ
ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า ประเด็น “การจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน”
“การขึ้นทะเบียนคนพิการเพื่อขยายสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการแบบใกล้บ้าน-ใกล้ใจ” “การฝึก อสม.เชี่ยวชาญ”
และ “การจัดทีมเยี่ยมบ้านแบบสหวิชาชีพ” เป็นประเด็นสาคัญในการพัฒนาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียง
ซึ่งสมควรพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม

Abstract

“Family and community empowerment for bedridden and palliative care for the
elderly” aimed to study the problems and obstacles for caring as well as to establish model
development to increase quality of life of the elderly bedridden. The combination between
quantitative and qualitative methods were performed with 45 primary caregivers in 14
communities of Khukhot Municipality, Lam Look Ka district, Pathum Thani province, and 20
key informants were also invited for in-depth interviews. The workshop for family and
community empowerment was performed by using Appreciation-Influence-Control (AIC) to
create a model development. Descriptive statistical analysis and content analysis were used
as the main tools for data conclusion and interpretation.

The findings indicated that the vast majority of elderly bedridden were female, aged
71-80 years. Stroke played an important cause of illness and they had long been suffered on
the bed for 1-5 years. All of them were totally dependent on their caretakers. The primary
caregivers were also female, aged 51-60 years, and most of them were married. Approximately
10% of the primary caregivers were demented, 36.36% were identified at high level of stress,
56.82% were depressed, and three-fourth were less happy than the normal people. Moreover,
the quality of life (QOL), measured by SF-36 Thai version, were found at low level.

Problems and obstacles for caring the elderly bedridden were (1) personal identity of
the elder (2) personal identity of the primary caregiver (3) low family relationship (4) lack of
medical system (5) lack of social and environment conditions. Social and health needs from
primary caregiver point of views were (1) improving emergency medical services (2)
handicapped registration for health rights (3) improving medical services (4) increasing
homecare for the elderly (5) holistic integration of home visit (6) appropriate health education
for primary caregiver (7) supporting medical equipment for daily living (8) supporting and
increasing some medical services and equipment in universal health coverage service.

Finally, the conclusion from the workshop indicated that: “emergency medical
services” “handicapped registration for health rights and medical accessibility” “development
of Village Health Volunteer” and “integrated health care team for the elderly” are the key
factors for health and well-being of the elderly bedridden, which need to be developed and
implemented.