โครงการเปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและนัยสำคัญเชิงนโยบาย

การเข้าสู่สังคมสูงอายุและการที่ประชากรไทยขาดทักษะด้านดิจิทัล (Digital Literacy) เป็นอุปสรรคในการเข้าสู่สังคมฐานความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังนั้น กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงต้องนำพาประชาชนเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาทักษะการอยู่รอดในโลกยุคใหม่ ให้สามารถต่อสู้กับความยากจน ให้สามารถดูแลผู้สูงอายุและให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้

ศาตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้กำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาโดยมุ่งบรรลุเป้าหมายในระยะสั้น (Quick Wins) เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง เพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย โดยคนเกษียณหรือผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสและสร้างแรงจูงใจให้เข้าสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อ
การดำรงชีวิตและพัฒนาศักยภาพในการทำงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดงานในภาครัฐและภาคเอกชน หรือความต้องการในการทำงานให้ได้มีโอกาสเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ให้คนเกษียณสามารถพึ่งพาตนเองได้ และไม่เป็นภาระในการดูแลของครอบครัวหรือภาครัฐ สำหรับคนเกษียณที่ดูแลตัวเองได้ สามารถทำงานได้ และมีทักษะเฉพาะทางที่ต้องใช้ประสบการณ์สูงในการทำงานโดยเฉพาะด้าน เพื่อให้ผู้เกษียณได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับคนรุ่นถัดไป เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมด้านสังคมสูงอายุ ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้ดำเนินงานในประเด็น เรื่อง “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” โดยได้กำหนดเป้าหมาย “การพัฒนาการเรียนรู้ทักษะงานและสมรรถนะในการทำงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 60,000 คน ในปี 2564 – 2565 และมีเป้าหมายที่จะขยายผลการดำเนินงานให้ครบ 100,000 คน ในปี 2566” ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยได้กำหนดเป้าประสงค์ไว้ 6 ประเด็น ดังนี้

  1. สนับสนุนการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย ของผู้สูงอายุไทย
  2. สร้างโอกาสให้คนเกษียณหรือผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีแรงจูงใจเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
  3. ผู้สูงวัยมีทักษะในการประกอบอาชีพ
  4. พัฒนาทักษะการประกอบอาชีพของผู้เกษียณและผู้สูงวัยให้ตรงความต้องการของตลาดแรงงาน
  5. สร้างโอกาสให้ผู้เกษียณดูแลตนเองได้ และประกอบอาชีพได้ตามทักษะ
  6. นำทักษะเฉพาะทางของผู้เกษียณ เป็นช่องทางถ่ายทอดประสบการณ์ เพื่อพัฒนา คนรุ่นใหม่

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้ร่วมมือและสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2564 แก่ 10 มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินงานในกรอบโครงการ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” เพื่อนำองค์ความรู้มาต่อยอดและขยายผล สร้างแรงจูงใจในการเข้าสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะงานในโลกดิจิทัล และมีหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อน จำนวน 9 หน่วยงาน โดยมีโครงการที่ร่วมขับเคลื่อนในประเด็นเรื่อง “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” ดังนี้

1. ไทยอารี

แผนงาน/โครงการ :
แผนงาน “ไทยอารี”
โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กรมกิจการผู้สูงอายุ


เป้าหมาย :

เพื่อสร้างความมั่นคงของมนุษย์แบบองค์รวมการสูงวัยในถิ่น (Aging in Place) และสูงวัยอย่างมีคุณภาพ


ผู้รับประโยชน์ :

ผู้สูงอายุใน 4 พื้นที่ (จ.ชัยภูมิ,จ.ล าปาง, จ.ชุมพร, จ.ชลบุรี) ได้รับระบบสร้างพลังทางสังคม จำนวน1,500 คน


Website โครงการ :

http://www.chulaari.chula.ac.th/ 


ผลงานและกิจกรรม >> 

2. พัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมด้านการบริบาลผู้สูงอายุ

แผนงาน/โครงการ :
แผนงาน “พัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมด้านการบริบาลผู้สูงอายุ”
โดย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน)

เป้าหมาย :
เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสู่วิสาหกิจชุมชนด้านการบริบาลผู้สูงอายุของประเทศไทยด้วยการสร้างกระบวนการพัฒนานักบริบาลผู้สูงอายุ เครือข่ายภาคประชาสังคม วิสาหกิจชุมชนด้านการบริบาลผู้สูงอายุผ่านแนวคิดการสร้างคุณค่า ร่วม ( Creating Shared Value:CSV)

ผู้รับประโยชน์ :
1.นักบริบาลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมโดยหลักสูตรออนไลน์ จำนวน 150 คน
2.ส่วนขยายผลที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาศักยภาพในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

Website โครงการ :


ผลงานและกิจกรรม >> 

3. สูงวัยใจดิจิทัล โครงการส่งเสริมทักษะการเข้าใจดิจิทัลเพื่อผลักดันผู้สูงวัยสู่พลเมืองดิจิทัล

แผนงาน/โครงการ :
โครงการ “สูงวัยใจดิจิทัล โครงการส่งเสริมทักษะการเข้าใจดิจิทัลเพื่อผลักดันผู้สูงวัยสู่พลเมืองดิจิทัล”
โดย มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เป้าหมาย :
เพื่อผลักดันผู้สูงวัยสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลผ่านเครือข่าย “สูงวัยใจดิจิตอล” เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อน และสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน

ผู้รับประโยชน์ :

1.ผู้สูงอายุที่เป็นวิทยากรแกนนำจำนวน 300 คน
2.ผู้สูงอายุที่เข้าเครือข่าย “สูงวัยใจดิจิทัล” จำนวน 10,000 คน

Website โครงการ :


ผลงานและกิจกรรม >> 

4. พลังเกษียณสร้างชาติ

แผนงาน/โครงการ :
โครงการ “พลังเกษียณสร้างชาติ:ระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อ
พัฒนาทักษะงานในยุคดิจิทัลสำหรับผู้สูงวัย และระบบสนับสนุนเชิงเทคนิคของ
คนรุ่นใหม่สู่การนำไปใช้ที่ยั่งยืน”
โดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

เป้าหมาย :
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะงานในยุคดิจิทัล ผ่านโรงเรียนผู้สูงอายุดิจิทัล “เกษียณมีดี”

ผู้รับประโยชน์ :
ผู้สูงอายุที่เข้าร่วม โรงเรียนผู้สูงอายุดิ จิทัล “เกษียณมีดี” จำนวนไม่ต่ ากว่า 4,000 คน

Website โครงการ :
https://www.lifelong.cmu.ac.th/medee

ผลงานและกิจกรรม >> 

5. สานพลังบวกผู้เกษียณสู่การสร้างสังคมแห่งการพัฒนาในยุควิถีชีวิตใหม่

แผนงาน/โครงการ :
โครงการ “สานพลังบวกผู้เกษียณสู่การสร้างสังคมแห่งการพัฒนาในยุควิถี
ชีวิตใหม่”
โดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับ จังหวัดสงขลา

เป้าหมาย :
เพื่อเตรียมความพร้อมวัยเกษียณให้มีทักษะในการประกอบอาชีพในยุควิถีชีวิตใหม่ด้านการเกษตรเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สุขภาพ และองค์ความรู้ดิจิตอล ผ่านการเรียนรู้บนสื่อดิจิทัล

ผู้รับประโยชน์ :
1.ผู้สูงอายุที่เป็นวิทยากรแกนนำ จำนวน 1,500 คน
2.ผู้สูงอายุที่เรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ จำนวน 10,000คน

Website โครงการ :
https://rianru.org/

ผลงานและกิจกรรม >> 

6. การพัฒนาโรงเรียนผู้สูงวัยเพื่อส่งเสริมสมรรถนะและการสร้างอาชีพเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่

แผนงาน/โครงการ :
โครงการ “การพัฒนาโรงเรียนผู้สูงวัยเพื่อส่งเสริมสมรรถนะและการสร้างอาชีพเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่”
โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ จังหวัดขอนแก่น

เป้าหมาย :
เพื่อสร้างแพลตฟอร์มการจัดการและถ่ายทอด ความรู้ให้กับผู้สูงอายุเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่

ผู้รับประโยชน์ :
ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมหลักสูตร ออนไลน์ใน 30 จังหวัด จำนวน 10,000 คน

Website โครงการ :
https://eschool.kku.ac.th/

ผลงานและกิจกรรม >> 

7. ห้องเรียนวัยเกษียณ

แผนงาน/โครงการ :
 โครงการ “ห้องเรียนวัยเกษียณ”
โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร

เป้าหมาย :
เพื่อสร้างทักษะอาชีพส าหรับผู้สูงอายุ ตามวิถี New Normal ยุคดิจิตอล บน Platform Online & Onsite ที่สามารถเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์

ผู้รับประโยชน์ :
ผู้สูงอายุวัยก่อน/หลังเกษียณที่เข้าเรียนคอร์สสร้างอาชีพ แบบ Online/Onsite จำนวน 10,000คน

Website โครงการ :
https://rtc.rmuti.ac.th/

ผลงานและกิจกรรม >> 

8. การเปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง : ต่อยอดทักษะ ความรู้การจัดการสมัยใหม่เพื่อการประกอบอาชีพในเศรษฐกิจใหม่

แผนงาน/โครงการ :
โครงการ “การเปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง : ต่อยอดทักษะ ความรู้การจัดการ
สมัยใหม่เพื่อการประกอบอาชีพในเศรษฐกิจใหม่”
โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ การเคหะแห่งชาติ

เป้าหมาย :
เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพในเศรษฐกิจใหม่

ผู้รับประโยชน์ :
ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมใน Market place จำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน

Website โครงการ :
https://readysenior.com/

ผลงานและกิจกรรม >> 

9. โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบพึ่งตนเอง

แผนงาน/โครงการ :
โครงการ “โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบพึ่งตนเอง”
โดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับ กรมกิจการผู้สูงอายุ

เป้าหมาย :
เพื่อพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบพึ่งตนเอง และสร้างผู้ประกอบการทางสังคมให้กับผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอาย

ผู้รับประโยชน์ :
1.ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจำนวน 1,024 คน
2.สมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุและเครือข่ายไม่น้อยกว่า 3,000 คน

Website โครงการ :


ผลงานและกิจกรรม >> 

10.. การพัฒนาเกษตรกรอาชีพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดาริ ทฤษฎีใหม่ สู่ยุคเกษตรกรรมใหม่ 4.0

แผนงาน/โครงการ :
โครงการ “การพัฒนาเกษตรกรอาชีพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริ
ทฤษฎีใหม่ สู่ยุคเกษตรกรรมใหม่ 4.0”
โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การ
มหาชน)

เป้าหมาย :
เพื่อพัฒนาทักษะเกษตรกรที่อยู่ในวัยก่อนหรือหลังเกษียณ เป็นเกษตรกรมืออาชีพที่ตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ สอดคล้องกับบริบทประเทศไทย 4.0

ผู้รับประโยชน์ :
1.เกษตรกรที่มีอายุมากกว่า 55 ปีและบุคคลวัยเกษียณ เป็นจำนวน 300 คน
2.เป้าผู้รับประโยชน์ส่วนขยาย 3,000 คน

Website โครงการ :


ผลงานและกิจกรรม >> 

ร้อยละความคืบหน้าของแต่ละโครงการ