โครงการศึกษาบทบาทองค์การนายจ้าง และองค์การลูกจ้างต่อปัญหาสังคมผู้สูงอายุ

โครงการศึกษาบทบาทองค์การนายจ้าง และองค์การลูกจ้างต่อปัญหาสังคมผู้สูงอายุ

Roles of Employer ’s and Employee ’s Organizations on Problems of Aging Society

บทคัดย่อ

จากการที่องค์การสหประชาชาติได้ประเมินสถานการณ์ว่า ในปี 2544-2643 จะเป็น ศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ โดยมีประชากรของโลกอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ 10 สำหรับประเทศไทยก็ ได้ถูกจัดให้เป็นสังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน โดยข้อมูลจากส านักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ประเทศไทย มี ประชากรผู้สูงอายุจำนวน ร้อยละ 10.7 ของประชากรทั้งประเทศในปี 2550 และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ต่อไปอีก การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในสังคมไทยได้ก่อให้เกิดทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาทางสังคม แต่ ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ นอกจากครอบครัวของผู้สูงอายุเองแล้ว ก็มักจะเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ งานศึกษาวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาบทบาทขององค์การนายจ้าง และองค์การลูกจ้างใน ฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมว่า ได้มีบทบาทในการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุอย่างไร มีอุปสรรคและปัญหาอย่างไรบ้าง และหากจะเพิ่มบทบาทให้มากขึ้นต่อไป ผู้เกี่ยวข้องจะต้องมีการ ดำเนินการอย่างไร

การศึกษาวิจัยนี้ได้ใช้การวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยในเชิงปริมาณ ได้มีการ ส่งแบบสอบถามไปยังองค์การนายจ้างและองค์การลูกจ้างทุกแห่งที่มีอยู่ตามทะเบียนของกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน ส่วนในเชิงคุณภาพ ได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึก5 กลุ่ม คือ กลุ่มองค์การนายจ้างกลุ่ม องค์การลูกจ้างเอกชน กลุ่มองค์การลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาพบว่า บทบาทขององค์การนายจ้างและองค์ลูกจ้างเกี่ยวกับปัญหาสังคม ผู้สูงอายุที่ผ่านมายังมีอยู่น้อยมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในการ จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บางแห่งมีการจัดสวัสดิการด้านรักษาพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุยกเว้นใน รัฐวิสาหกิจบางแห่งที่มีระบบบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้สูงอายุ เหตุผลที่องค์การนายจ้างและอง๕การ ลูกจ้างยังมีบทบาทในเรื่องนี้น้อย ก็เนื่องจากการขาดแคลนเงินทุนและในการด าเนินการประกอบกับ พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ยังก าหนดให้องค์การ นายจ้างและองค์การลูกจ้างมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่พ้นจาก การเป็นสมาชิกองค์การทั้งสอง เพราะเหตุเกษียณอายุจึงไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลอีกต่อไป
คณะผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรได้มีการส่งเสริมให้องค์การนายจ้างและองค์การ ลูกจ้างได้มีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น โดยการส่งเสริมให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งด้านเงินทุน และบุคลากร เพื่อจะได้มีทรัพยากรเข้ามาดูแลผู้สูงอายุ องค์การนายจ้างควรร่วมมือกับองค์การลูกจ้างใน การดูแลผู้สูงอายุ เช่น การร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นในทุกสถานประกอบการ การจัดตั้งการฌาปนกิจสงเคราะห์ส าหรับลูกจ้าง การให้ความรู้แก่ผู้ที่ก าลังจะเข้าวัยผู้สูงอายุ เพื่อการเตรียมตัว การจัดให้มีการฝึกอาชีพเพื่อการมีงานทำในวัยเกษียณ นายจ้างก็ควรจัดให้มีการจ้าง งานผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้สหภาพแรงงานจัดให้มีกิจกรรมสำหรับสมาชิกที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุด้วย

ในด้านของรัฐนั้น ควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมขององค์การนายจ้าง โดย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรได้เพิ่มกองทุนส าหรับผู้สูงอายุให้เพียงพอ เพื่อให้ องค์การนายจ้างสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมผู้สูงอายุ กระทรวงแรงงานควรปรับปรุงกฎหมายแรงงาน สัมพันธ์เพื่อเปิดโอกาสให้นายจ้างที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้วยังคงเป็นสมาชิกต่อไปได้ เพิ่มเงินสมทบกรณี ประกันชราภาพ และควรมีแนวทางการส่งเสริมการจ้างงานส าหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่ยังสามารถ ทำงานได้ กระทรวงสาธารณสุขควรจัดบริการรักษาพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และ กระทรวงมหาดไทยควรส่งเสริมให้องค์การส่วนท้องถิ่นจัดให้มีกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและ ให้ผู้สูงอายุในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่คนรุ่นหลังด้วย

Abstract

It was predicted by UN that during the year of 2001-2100 will be the century of the old age among these the old people over 60 will exceed to 10% of the world population. For Thailand it was designated as aging society as well. National Statistical Office demonstrated that aging citizens mounted to 10.7% of Thai population in 2007, and would have a tendency to increase in the future. Growing members of aging people in Thai society had impacts on both economic and social problems. Besides family, it was responsibility of the state to take care aging people, especially, who lost their ability to care for themselves. This study, then, tried to analyze the roles of both Employer’s and Employee’s Organizations as a part of social community to protect and achieve obstacles of the old age. The suggestions for improving their performance were mentioned.

The data collection was used by means of quantitative and qualitative approaches. For quantitative approach, questionnaires were posted to all Employer’s Organization and Employee’s Organization registered with Department of Labour Protection and Welfare, Ministry of Labour. The return of the questionnaires were 25.0% and 32.0%, respectively. For the qualitative approach, in-depth interviews were performed with representatives of 5 groups, namely, Employer’s Organization (Employer’s Association Employer’s Federation and Employer’s Confederation), State Enterprise Labour Union and Federation, Employee’s Organization (Labour Union, Labour Federation and Labour Congress ), concerned governmental officials and labour academics.

The findings revealed that the role of Employer’s and Employee’s Organizations on the old age concerning social problems in the past had been limited. Its activities in charge mostly emphasized on establishment of provident fund. Some enterprises provided medical care for aging people, except for some state enterprises in which retirement pension scheme was set up. The reason why both organizationtooktoo slightly part in these roles due to lack of capital for investment and implementation.

In addition, the State Enterprise Labour Relations Act and Labour Relations Act also stipulated Employee’s Organization to protect the workers who were only their members. Thus, the workers who finished their jobs owing to retirement would not be protected any longer.

The Ministry of Labour should amend Labour Relations Law to broaden opportunity for aging people to further their membership of their organizations in order that Employer’s and Employee’s Organizations could make some contributions for the old age. It should be formulated guidelines in support of aging employment, especially, for those who were still able to work. The government by Ministry of Social Development and Human Security should provide enough funding in old person fund so that Employer’s Organization and Employee’s Organization can utilize in aging activities. Ministry of Public Heath should provide health service specially for the old age. Ministry of Interior should support harmoniously with local administrative organization to manage continuous activities for aging people, on the contrary, should encourage old people to transmit their knowledge and experiences to descendants or new generation.

แชร์

Facebook
Twitter
Email
พิมพ์
ให้คะแนน