โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสู่วิสาหกิจชุมชนด้านการบริบาลผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำชุมชนต้นแบบด้านการดูแลผู้สูงอายุ “แม่มอกโมเดล” มาต่อยอดสร้างชุมชนเข้มแข็งในการเตรียมรับสังคมผู้สูงอายุสำหรับประเทศไทยโดยการพัฒนาหลักสูตรและหลักการปฏิบัติด้านการดูแลผู้สูงอายุออนไลน์รวมถึงพัฒนาเครื่องมือในการบริหารจัดการเครือข่ายการให้บริการบริบาลผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับยุคสมัยและเพื่อส่งเสริมหุ้นส่วนทางสังคมเครือข่ายนักบริบาลผู้สูงอายุพัฒนาสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนด้านการดูแลผู้สูงอายุที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันภายใต้การสร้างคุณค่าร่วม อีกทั้งเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านวิชาการและงานวิจัยให้กับเครือข่ายนักวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมในแผนงานวิจัยนี้ผลการวิจัยพบว่า การบูรณาการความรู้จากนักวิจัยนั้นเมื่อนักวิจัยผ่านกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) แล้วทำให้นักวิจัยมีความเข้าใจเกี่ยวกับแผนงานวิจัยและโครงการวิจัยย่อยมากขึ้น สำหรับการพัฒนานักวิจัยทั้งโครงการวิจัยประกอบด้วยนักวิจัยทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักวิจัยที่เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขภาพ กลุ่มนักวิจัยที่
เป็นนักวิชาการด้านอื่น และนักวิจัยท้องถิ่น มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และนำแนวความคิดและมุมมองใหม่ ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานวิจัยได้ เมื่อได้บริหารโครงการวิจัยและพัฒนานักวิจัยแล้ว โครงการวิจัยได้พัฒนาระบบจัดการหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุสำหรับ
นักบริบาลแบบผสมผสาน (Hybrid Learning) โดยมีการจัดรูปแบบการเรียนออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) หมวดวิชาที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เรียนรู้ผ่านห้องเรียนทางไกล และ 2) หมวดวิชาที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และเน้นให้มีทักษะที่นำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ รูปแบบการเรียน เรียนรู้โดยพบผู้สอนในห้องเรียน ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนและเข้าเรียนตามตารางที่ผู้สอนกำหนด สามารถศึกษา ทบทวนเนื้อหาบทเรียนจากสื่อการสอนออนไลน์ได้ทุกเวลา สามารถพบผู้สอนโดยตรงด้วยการเรียนรู้ออนไลน์แบบโต้ตอบกันเพื่อทบทวนความรู้และซักถามประเด็นที่สนใจ เมื่อผู้เรียนผ่านการอบรมหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุจะปรากฏรายชื่อของผู้ผ่านการอบรมในระบบบริหารจัดการสำหรับการให้บริการบริบาลผู้สูงอายุของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เพื่อรองรับการจัดลำดับคิวของนักบริบาลปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุ ระบบสามารถประเมินคัดกรองผู้สูงอายุก่อนเข้ารับบริการ แจ้งเตือนข้อมูลงานที่ได้รับมอบหมายผ่านแอปพลิเคชันไลน์ สามารถรับงาน ปฏิเสธงาน รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวัน และสามารถคำนวณรายได้จากการให้บริการได้ โดยผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์มีความคิดเห็นว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากทั้งนี้ระบบสามารถจ่ายงานและจัดการลำดับคิวให้กับนักบริบาลได้ถูกต้องรวดเร็ว สำหรับการพัฒนาโมเดลชุมชน nursing home care พบว่าได้พัฒนารูปแบบบ้านนักบริบาลผู้สูงอายุภายใต้แนวคิด
สร้างคุณค่าร่วม (Creative Share Value; CSV) ให้เป็น Nursing Home Care ตามมาตรฐานการบริการภายใต้พระราชบัญญัติสถานประกอบการด้านสุขภาพพุทธศักราช 2559 จำนวน 2 หลัง และพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนด้านการบริการดูแลผู้สูงอายุ 1 วิสาหกิจชุมชนโดยได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนขึ้น 1 วิสาหกิจ นอกจากนี้ยังพบว่าหลังจากผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริบาล
ผู้สูงอายุระดับสูง 420 ชั่วโมงแล้วนักบริบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นและสม่ำเสมอ ภาระหนี้สินลดลง ปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบริบาลมากกว่าอาชีพเดิม รวมถึงมีเวลาดูแลครอบครัวเต็มที่ สำหรับการประเมินการพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสู่วิสาหกิจชุมชนด้านการบริบาลผู้สูงอายุพบว่าในภาพรวมของศักยภาพวิสาหกิจชุมชนมีผลความคิดเห็นอยู่ระดับปานกลาง โดยหมวดที่ต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อการพัฒนา
ศักยภาพทางธุรกิจชุมชน คือ การวางแผนการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน การบริหารการตลาด และการจัดการความรู้และข้อมูล ในส่วนของการประเมินกระบวนการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุต่อการพัฒนาศักยภาพของนักบริบาลผู้ใช้งานสื่อการเรียนการสอนออนไลน์พบว่าภาพรวมของกระบวนการอบรมมีผลความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีความสอดคล้องกับระดับความพึงพอใจ
มากที่สุดที่มีต่อหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุของนักบริบาล หัวหน้างาน/ผู้ควบคุม ผู้ใช้บริการ สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางสังคมระหว่างพื้นที่โครงการในและต่างประเทศ พบว่าพื้นที่ตำบลแม่มอกมีผลลัพธ์ทางสังคม ด้านเศรษฐกิจคือก่อให้เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ ด้านสังคมคือการสร้างความมั่นคง ความภาคภูมิใจให้กับนักบริบาล ได้กลับมามีอาชีพในบ้านเกิด ด้านสิ่งแวดล้อม คือชุมชนมีการให้บริการบริบาลผู้สูงอายุภายใต้ทุนทางธรรมชาติที่คำนึงถึงความเป็นอยู่ของคนในชุมชน และพบว่าผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนเป็นผลบวกมีค่าเท่ากับ 5.83 สำหรับการเปรียบเทียบกับต่างประเทศพบว่า รัฐเป็นผู้มีบทบาทในการจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุโดยมีนโยบาย กฎหมายและกรอบการบริหารจัดการองค์กรที่ชัดเจน มีการบูรณาการการดูแลสุขภาพให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วน
ร่วมและให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นฐานการให้บริการ
This research study aimed to explore the adaptation of “Mae Mok Model”, a model community for elderly care, in building potential communities in preparation for an aging society in Thailand. The project includes development of online courses and practice guidelines for elderly care, as well as tools for managing an up-to-date elderly care service network. It also aimed to promote social partnerships of the elderly caregiver network and transform it into a community enterprise for elderly care with competitive advantages through the creation of shared values. In addition, the project aimed to develop knowledge and skills in academics and research for a network of researchers from various agencies participating in this research plan. The results revealed that after participating in a participatory action research (PAR) workshop, the researchers were found with a better understanding of the research plan and details of sub-research projects. The participants included government healthcare official researchers, academic researchers, and local researchers, who, during this process, had an opportunity to exchange knowledge, ideas, and new perspectives for the benefit of the
project. After research planning and researcher development, the next process was developing a course management system for “Hybrid Learning” in elderly care of caregivers. The lessons carried out could be divided into 2 types of class formats; (1) distant-learning – for principle lessons or lectures that require explanations and understanding and (2) faceto- face – for lessons that require learners to gain knowledge and skills necessary in elderly care directly from a teacher in an actual classroom. Learners could register for the program and participate in classes as assigned by the teachers, then learn or revise lesson content
from online teaching materials at any time. They could also meet the teachers online for questions or discussions. Upon the course completion, the learners’ names would then be listed on the administration system of the community enterprise network. They would then be on the caregiver queue list used for arranging elderly care duties. This system could be used for screening their elderly clients before receiving the care service, as well as other administration tasks including appointment notifications via LINE application, job acceptance or rejection, daily performance reports, and income calculation. Evaluation results from computer experts noted that the efficacy of this program was at a high level and it could be used to assign jobs and manage queues for the caregivers quickly and accurately. As for development of a model nursing home community, Creative Share Value (CSV) was used to transform two caregiver residential houses into nursing homes under the standards of the Health Establishment Act B.E. 2559 and one model community enterprise for elderly care was established and registered. It was also found that after passing a 420-hour course on geriatric care, the caregivers had increased and consistent income and decreased debt
burden. They were found to work more as a caregiver than their current occupation and have more time to spend with their family. However, the overall potential of the community enterprise was evaluated to be at a moderate level. The aspects deemed in need of improvement include the community enterprise’s operation planning, marketing management, and knowledge and information management. Furthermore, the online
elderly care course for caregivers was overall evaluated with a very high level of impact on the caregivers’ potential. This is was in line with a very high level of satisfaction towards the program from the caregivers, their supervisors, and clients. When comparing the social impacts of the project with other domestic and international areas, Mae Mok Sub-district was found having certain economic impacts such as higher employment, as well as social impacts such as increased stability, self-esteem, and local job opportunities for the caregivers. There were also some environmental impacts as the elderly care services were provided using natural capital while taking into account the well-being of people in the community. Hence, the social return on investment of the project was found to be a positive at 5.83. When compared to the elderly care service of other countries, however, it was found that other nations’ governments played a key role in providing welfare for the elderly under clear policies, laws, and organizational management framework. Healthcare was found to be integrated operations which included all sectors’ participation and a focus on using the local community as a service base.
# | File | File size | Downloads |
---|---|---|---|
1 | 2.6 การพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสู่วิสาหกิจชุมชนด้านการบริบาลผู้สูงอายุ | 612 KB | 148 |
© สงวนลิขสิทธิ์ 2022 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)