สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า (forebrain) สมอง ส่วนกลาง (midbrain) และสมองส่วนท้าย (hindbrain) ในสมองส่วนหน้าจะมีสมองใหญ่หรือซีรีบรัม (Cerebrum) ซึ่งเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แบ่งออกเป็นสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา โดยสมองซีกซ้ายควบคุมร่างกายซีกขวา สมองซีกขวาควบคุมร่างกายซีกซ้าย https://www.brainhq.com/brain-resources/image-gallery/brain-anatomy-images/ สมองใหญ่แบ่งเป็น 4 ส่วนมีหน้าที่ต่างกัน คือ 1. สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสนใจจดจ่อ การคิดเป็นเหตุเป็นผล การตัดสินใจวางแผน และควบคุม ร่างกายในการเคลื่อนไหว อารมณ์ความรู้สึก 2. สมองกลีบข้าง (Parietal lobe) ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลการรับรู้ ความรู้สึกที่ส่งมาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น รับรู้ความรู้สึกสัมผัสจากฝ่ามือ เป็นต้น รวมทั้งการรับรู้เวลา สถานที่ และทิศทาง 3. สมองกลีบขมับ (Temporal lobe) สมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน ความเข้าใจทางภาษา และความจํา และ 4. สมองกลีบท้ายทอย (Occipital lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น การจัดการ ข้อมูลต่าง ๆ จากการมองเห็น เช่น การกะระยะทาง สี รูปทรง ความหมายจากข้อความที่ได้อ่าน เป็นต้น (พลินท์ชฎา พัชราพิสิฐกุล และจารุณี วิทยาจักษุ, มปป) ความผิดปกติของสมองไม่ว่าจากเจ็บป่วยหรือการเสื่อมสภาพตามวัยย่อมมีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสมองเกิดภาวะสมองเสื่อม https://www.brainhq.com/brain-resources/image-gallery/brain-anatomy-images/ ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในผู้สูงอายุ เนื่องจากอุบัติการณ์การเกิดภาวะสมองเสื่อมจะเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ภาวะสมองเสื่อมมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทในสมองและความผิดปกติจากส่วนอื่นของร่างกายที่ส่งผลให้สมองทำหน้าที่ผิดปกติ จนมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต การช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวัน และสุดท้ายทำให้ผู้สูงอายุต้องเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงในที่สุด ดังนั้นการพัฒนาสมรรถภาพสมองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีและสามารถพึ่งพิงตนเองได้


You may also like

Page 3 of 5