ปัจจุบัน สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากรายงาน การสารวจผู้สูงอายุไทยโดยสานักงานสถิติแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 ระบุว่า โดยในปี พ.ศ. 2537 มีจานวน ผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศและเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4, 10.7 และ 12.2 ในปี พ.ศ. 2545, 2550 และ 2554 ตามลาดับ และผลการสารวจปี พ.ศ. 2557 พบว่ามีจานวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 14.9 (10 ล้านคน) ของประชากรทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 56.5 เป็นผู้สูงอายุวัยต้น (60-69 ปี) และมีการ คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29.3 ในปี พ.ศ. 2576 หรือประมาณ 19.1 ล้านคน ทั้งนี้จานวนผู้สูงอายุวัย ปลาย (อายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป) ก็เพิ่มขึ้นมากด้วย ( มากกว่า 1 ล้านคน) ซึ่งสอดคล้องกับการมีอายุขัยโดยเฉลี่ย เมื่อแรกเกิด (life expectancy at birth) เพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าผู้ชายไทยและผู้หญิงไทยมีอายุขัยโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 58 ปี และ 64 ปี ในปี พ.ศ. 2513 เป็นอายุ 71 ปี และ 78 ปี ในปี พ.ศ. 2554 ตามลาดับ
ประเทศไทยมีแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2525–2544) และฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545–2564) ซึ่งมี วิสัยทัศน์ว่า “ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม” คือ เน้นให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้นานที่สุด และสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม แผนนี้ให้ความสาคัญกับผู้สูงอายุ และ การเตรียมตัวของผู้ที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคตด้วย ซึ่งอาหารและโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยหนึ่งที่สาคัญที่จะทาให้ผู้ สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม กระทรวงสาธารณสุขมีแผนพัฒนาการสุขภาพกลุ่มวัยผู้สูงอายุ พ.ศ. 2557-2566 (10 ปี) มีแบบบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนหนึ่งมีการบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ซึ่งสามารถประเมิน ตนเองได้ว่ามีพฤติกรรมการบริโภคเหมาะสมหรือไม่ และควรปรับตัวเองอย่างไร
การมีข้อแนะนาการบริโภคอาหารสาหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้มีสุขภาพดีและลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังจึงมีความสาคัญ ปัจจุบันนี้การประมวลผลปริมาณอาหาร (Food Based) แบ่งตามกลุ่มอาหาร หรือเทียบ ตามสัดส่วนธงโภชนาการ จะช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาโภชนาการทั้งขาดและเกินได้ ดังนั้นข้อแนะนาการ บริโภคอาหารสาหรับผู้สูงอายุไทยจึงเป็นเครื่องมือสาธารณะสาหรับให้บุคลากรสาธารณสุขนาไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุไทยได้ แต่ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขไทยมีเพียง ธงโภชนาการ เป็นข้อแนะนาการกินอาหารสาหรับ คนไทยอายุ ตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ยังไม่มีข้อแนะนาการบริโภคอาหารเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สาคัญ มากในการกาหนดข้อแนะนาการกินเพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของสังคมไทยที่จะรองรับผลกระทบทางด้านสุขภาพที่จะ เกิดขึ้นจากภาวะประชากรสูงอายุ ในด้านอาหารและโภชนาการจึงควรมีการศึกษาการสารวจภาวะอาหารและ โภชนาการในผู้สูงอายุ รวมทั้งศึกษาทบทวนเพื่อการกาหนดเกณฑ์ตัดสินของตัวชี้วัดภาวะโภชนาการ ให้เป็น มาตรฐานเดียวกัน สิ่งสาคัญของการส่งเสริมสุขภาพคือการมีการประเมินภาวะโภชนาการความเหมาะสม ด้าน คุณภาพอาหารจากปริมาณ-ของสารอาหารที่บริโภคในผู้สูงอายุ ซึ่งเครื่องมือสาหรับใช้ในการประเมินนี้มี ความสาคัญ และเป็นเครื่องมือสาหรับการศึกษาพฤติกรรมบริโภค การติดตามสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของ พฤติกรรมบริโภคอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับ การสนับสนุนทุนวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช) ประจาปีงบประมาณ 2553 สาหรับโครงการ “การพัฒนา แบบสอบถามความถี่-ปริมาณการบริโภคอาหารสาหรับผู้สูงอายุ (Thai elderly semi-quantitative food frequency questionnaire) และการประมวลข้อมูลการบริโภคในผู้สูงอายุไทยภูมิภาคต่าง ๆ” ในการพัฒนา แบบสอบถามความถี่-ปริมาณการบริโภค แต่ก่อนที่จะนาเครื่องมือนี้ออกไปใช้ ต้องมีการทดสอบความแม่นตรง (validation)ของการประเมินการได้รับสารอาหารสาคัญในผู้สูงอายุไทย ด้วยแบบสอบถามความถี่-ปริมาณการ บริโภคอาหาร (Thai elderly semi-quantitative food frequency questionnaire) ของสารอาหารสาคัญ สาหรับผู้สูงอายุไทย คือ พลังงาน โปรตีน ไขมัน แคลเซียม และเหล็ก
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสานักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติปีงบประมาณ 2556 ภายใต้แผนงาน “การพัฒนาแนวทางการบริโภคอาหารและการประเมินการได้รับสารอาหารสาคัญของผู้สูงอายุไทย” เพื่อจัดทาแนวทางการบริโภคอาหารสาหรับผู้สูงอายุไทย รวมถึงการทดสอบความแม่นตรงของแบบสอบถามความถี่การบริโภคอาหารในผู้สูงอายุไทย เพื่อให้ได้แนวทางการปฏิบัติการบริโภคอาหารเฉพาะสาหรับผู้สูงอายุ เป็นการขยายงานข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยที่มีการจัดทาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยภายใต้แผนงานนี้มีโครงการย่อย 2 โครงการ คือ
โครงการย่อยที่ 1 แนวทางปฏิบัติการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสาหรับผู้สูงอายุ
โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาความแม่นตรงของการประเมินการได้รับสารอาหารสาคัญด้วยแบบสอบถามความถี่การบริโภคอาหารที่พัฒนาขึ้นสาหรับผู้สูงอายุไทย
# | File | File size | Downloads |
---|---|---|---|
1 | 1.5 การพัฒนาแนวทางการบริโภคอาหาร-ของผู้สูงอายุไทย | 17 MB | 131 |
© สงวนลิขสิทธิ์ 2022 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)