การพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะในผู้สูงอายุ:กรณีภาคเหนือตอนบน

การพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะในผู้สูงอายุ:กรณีภาคเหนือตอนบน

The Development of Local Wisdom to Health Promotion in Elderly: A Case of top-north region, THAILAND

บทคัดย่อ

พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสุขภาพอาจเกิดจาก การที่ผู้สูงอายุมี ข้อจำกัดหลายอย่าง ทำให้ไม่มีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งที่รับรู้ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพของ ตนเอง ดังนั้นการใช้แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่น ( Wisdom) เพื่อการสร้างพลังอำนาจเป็นสิ่งที่มี ความสำคัญ เนื่องจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ในท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ และความ เฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่น หนึ่ง ระหว่างการสืบทอดภูมิปัญญานั้นมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ ใหม่ตามสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการศึกษาวิธีการส่งเสริมพฤติกรรมสุข ภาวะผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตภาคเหนือตอนบนที่มีความเฉพาะของ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเป็นการศึกษาองค์รวมที่ประยุกต์แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่น เพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ในการกระทำพฤติกรรม และเกิดความเชื่อมั่นและทักษะที่สามารถ จัดการกับตัวเอง สิ่งแวดล้อมแล้วเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้เกิดความสมดุล ในชีวิต เพื่อเสนอเป็นรูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิต ที่ดีและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ตนเอง ครอบครัวและสังคมต่อไป

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะใน ผู้สูงอายุ โดยใช้แบบการวิจัยและพัฒนาร่วมกับการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีขั้นตอนการ พัฒนา 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสุขภาวะในกลุ่มผู้สูงอายุ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำไปใช้สร้าง กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะ 2) การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาวะสำหรับ ผู้สูงอายุ โดยการสังเคราะห์กิจกรรมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมในผู้สูงอายุที่ได้จากการศึกษา ขั้นตอนแรก และจัดทำรูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะที่ยั่งยืนใน ผู้สูงอายุ โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุในเขตภาคเหนือตอนบน 6 จังหวัด ข ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในเขต 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน รวมทั้งหมดจำนวน 80 ราย จัดกลุ่มผู้สูงอายุตามความสามารถกับการมีสุขภาวะดีได้ 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะดีที่ สามารถทำกิจกรรมได้ 2) กลุ่มผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะดีที่ทำงานได้น้อยลง หรือสามารถทำกิจกรรมได้ ลดลง และ 3) กลุ่มผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะไม่ดี

ผลการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับ การเสริมสร้างสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุสามารถนำเสนอได้เป็น 4 ส่วนดังนี้ 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ เกี่ยวข้องด้านโภชนาการ 2) ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องการเสริมสร้างสุขภาวะด้านร่างกาย 3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องด้านการนวด และ 4) ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องด้านความสัมพันธ์กับ สังคม และการพัฒนาทางจิตวิญญาณที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะดี

ลักษณะสุขภาวะของผู้สูงอายุ และปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ค้นพบ สาระสำคัญที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะดีนั้น เกิดจากการดูแลตนเองแบบองค์รวม และวิถีชีวิตของ ผู้สูงอายุที่นำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี เกิดจากการดูแลตนเองตามแบบแผนการดำเนินชีวิต 6 ด้าน คือ 1) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ 2) การออกกำลังกาย 3) โภชนาการ 4) การสนับสนุนระหว่างบุคคล 5) การจัดการกับความเครียด และ 6) การพัฒนาทางจิตวิญญาณ ผลการศึกษารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุนั้น สามารถดำเนินการได้ใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่สุขภาพดี/แข็งแรง และกลุ่มผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่ แข็งแรง/มีการเจ็บป่วยเล็กน้อย โดยมีรูปแบบ 3 ด้านคือ 1) การจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะด้าน ร่างกาย ในด้านอาหาร การออกกำลังกาย การบริหารร่างกาย การนวดและกิจกรรมสันทนาการ 2) รูปแบบการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะด้านจิตใจ โดยใช้กิจกรรมด้านศาสนาและกิจกรรมการ ช่วยเหลือแก่สังคม 3) รูปแบบการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะด้านสังคม ด้วยกิจกรรมชมรม ผู้สูงอายุ

ผลการดำเนินการวิจัยทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสม เพื่อนำไปใช้ ปฏิบัติในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาวะผู้สูงอายุในจังหวัดภาคเหนือตอนบน ผู้สูงอายุได้ใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นที่เหมาะสม และรูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสม ในการส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป

Abstract

Health promotion being a barrier to health behavior of the elderly may be due to the age restrictions that are responsible for good health behaviors, while recognizing that there were benefits to their health. Therefore, the concept of the so-called local wisdom to generate a great drive was important as it is the particular wisdom, the local knowledge derived from experience and the ingenuity of the people in the area. In other words, it is the knowledge gained through the ancestors and inherited from one generation to another generation. The wisdom through socialization and the passage of time has been modified, adjusted, and attuned to the situations concerned. That is to say, it came into existence and was moulded by a new social, cultural and environmental conditions. Thus, to find how to promote health behavior of the elderly, by means of local knowledge, especially in the upper-northern region teeming with local wisdom in particular is worth attempting. By a study of the application of a holistic concept of health promotion through local knowledge is to achieve the new behavior with self-confidence and skills for properly managing themselves and environment, caused by their own free-will, resulting in a balance in life, which is nothing but to offer an appropriate model for health promotion in the elderly. The elderly will there from have a better quality of life and live happily in society so as to do good to their own family and society as well.

This research aims at developing a model of local wisdom for promoting good health in the elderly, the expected group of people in the 6 upper-northern provinces. The study is based on research and development methodology cum participation. The study consists of two phases: 1) the study of health among the elderly, while acquiring a local knowledge to create health promotion activities, and 2) the development of local knowledge in order to promote health for elders. By means of synthetic activity, the appropriate local wisdom is utilized for elders from the first step. And a local model suitable for promoting a sustainable health program for the elders is accordingly worked out.

From the study, it is found that the expected elders in the six provinces in the Upper- North numbering 80 can be arranged in 3 groups according to their ability and health thus: 1) a group of old people healthy and energetic, 2) a group of old people healthy but less energetic and 3) a group of old people who have bad health.

The results of study on local wisdom as a body of knowledge in connection with the strengthening health for the elders can be arranged into four aspects: 1) traditional knowledge related to nutrition, 2) traditional knowledge relevant to good ง physical health, 3) traditional knowledge related to the field of massages and 4) traditional knowledge concerning social relations, including spiritual development, leading to very healthy elders.

On the elders’ healthy conditions and their social-cultural factors involved, researchers have discovered a substance by which the elderly live very healthy life. That is, they look after their life by means of holistic care as well as their way of life helpful to a better health. Caused by self-care lifestyle as such, six characters may be pointed out: 1) the responsibility for 1) health, 2) Exercise, 3) Nutrition, 4) Interpersonal support, 5) stress management, and 6) mental development.

The local wisdom model as such applied to two groups: 1) healthy elders and 2) infirm elders or ill health. To promote the health program for them, it carried out the program with the three aspects: 1) the physical activity in terms of nutrition, exercise, gymnastics, massage and recreation, and 2) the activities to promote mental health, both religious and social, and 3) the health promotion activities of the society, such as, Senior Citizens Club activities.

The research has caused the development of a local optimum wisdom for promoting health behavior of the elderly in the upper-northern provinces. The elderly have made use of local knowledge or a local optimum wisdom. In health promotion as such, it has created good health care habits so as to render a sustainable health care practice.