สังคมไทยกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและมีแนวโน้มมี อายุยืนยาวขึ้น พร้อมกับสังคมโดยรวมมีลูกกันน้อยลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับกระบวนการ เปลี่ยนแปลงเป็นเมือง การศึกษาสถานการณ์ในปัจจุบันและประสบการณ์ของต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวันจะทำให้สังคมไทยได้บทเรียนในการสร้างหรือปรับปรุงระบบสนับสนุนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ในเขตมหานครต่อไปในอนาคต โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ ประการที่หนึ่ง ศึกษาสถานการณ์ของ ผู้สูงอายุเน้นด้านประชากร สังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพในเขตมหานครของประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ประการ ที่สอง ศึกษาระบบสนับสนุนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในเขตมหานครของประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน และประการที่ 3 ถอดบทเรียนของประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน เพื่อดึงนัยเชิงนโยบายและแนวทางการเตรียมการ รองรับสังคมสูงวัยสำหรับผู้สูงอายุในเขตมหานครของประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มาจากข้อมูลสถิติ เอกสารราชการ เอกสารวิชาการ และสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกรณี ประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติของประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน รวมทั้งสิ้น 10 ท่าน และเยี่ยมสถานบริการด้านผู้สูงอายุทั้งที่เป็นองค์กรแสวงหากำไรและองค์กรไม่แสวงหา กำไรรวมทั้งสิ้น 7 แห่ง
ประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันกำลังเผชิญสถานการณ์การสูงวัยทางประชากรอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลของทั้ง ประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันได้เตรียมมาตรการรองรับสถานการณ์อย่างรอบด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม และด้านที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดีดูเหมือนว่าประเด็น “การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา” เป็นโจทย์ หลักของสังคมในขณะนี้ ในเชิงการเตรียมความพร้อม ประเทศไทยกำลังเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกันกับทั้ง ประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นหลักประกันรายได้ยามชราภาพ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมการ ทำงานของผู้สูงอายุ การปรับปรุงที่อยู่อาศัย แต่ยังมีบทเรียนและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำคัญที่พึงพิจารณา เพิ่มเติมในอนาคต
การแบ่งบทบาทด้านการดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลเชิงสังคมและบทบาทในเชิง ป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุตกอยู่ในภาวะพึ่งพาต้องกำหนดให้เป็นบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ สังคมไทยควรจะต้องผลักดันภาคส่วนอื่นที่ไม่ใช่รัฐบาลให้เข้ามามีส่วนในการสร้างหรือปรับปรุงระบบ สนับสนุนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุด้วย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชนทั่วไป สตาร์ทอัพ วิสาหกิจเพื่อสังคม มูลนิธิ องค์กรทางศาสนา องค์กรสาธารณกุศล องค์กรสวัสดิการชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ เพื่อรองรับความต้องการ ที่จะมีหลากหลายมากขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักพยาบาล/การฟื้นฟูสภาพที่บ้าน การบริการดูแล 3 รายวันในสถานดูแล การบริการดูแลแบบค้างคืนระยะสั้น/ระยะยาว การดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาเฉพาะ ระบบ ยืมอุปกรณ์สนับสนุนการดูแลที่บ้าน การปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน บริการจัดส่งอาหาร การเยี่ยมบ้านตอน กลางคืน บริการเรียกหา การดูแลผู้สูงอายุโดยผู้ดูแลชาวต่างประเทศ บริการช่วยดูแลทำความสะอาดบ้าน บริการรถขายสินค้าจำเป็นเคลื่อนที่ บริการพาสุนัขไปเดินเล่นแทนเจ้าของ เปลี่ยนหลอดไฟหรือจัดบ้าน เป็น ต้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีบทบาทในฐานะศูนย์รวมข้อมูล เปิดเผยและกระจายข้อมูลบริการ เหล่านั้นให้กับผู้สูงอายุและครอบครัว
ส่งเสริมให้มีการบูรณาการภายในพื้นที่ในหลากหลายลักษณะ เช่น ความร่วมมือสร้างเครือข่าย ระหว่างภาครัฐและภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐบาล ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐบาลด้วยกันเอง ซึ่งมีทั้ง ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนที่แสวงหากำไรด้วยกัน ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรกับ ภาคเอกชนที่แสวงหากำไร รวมถึง ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับกลุ่มอาสาสมัคร เป็นต้น อันจะเป็นการ เพิ่มคุณภาพของบริการ อีกทั้งรัฐบาลควรเข้ามามีบทบาทในลักษณะที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนภาคส่วนอื่นๆ มากกว่าการเป็นผู้จัดบริการเอง ที่สำคัญได้แก่ การเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินในรูปแบบของเงินอุดหนุน ให้กับภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐบาล การสร้างภาคีความร่วมมือหรือการเป็นหุ้นส่วนกับภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐบาล เช่น การลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักโดยภาครัฐ และการอนุญาตให้ภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐบาลเข้ามาเป็นผู้ จัดบริการและบริหารจัดการระบบบนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว การเป็นผู้ประกันหรือผู้ซื้อบริการ เป็นต้น
ในอนาคต ประเทศไทยควรจะต้องพิจารณาระบบสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุที่มีความ ยั่งยืนโดยต้องพิจารณาทางเลือกในการใช้ระบบประกันทางสังคม (social insurance) โดยขณะเดียวกันก็ มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มด้อยโอกาสหรือมีความสามารถในการแบกภาระต่ำแยกออกไปต่างหาก การออกแบบระบบในลักษณะนี้จะช่วยส่งเสริมความยั่งยืนทางการเงินการคลังของระบบและชะลอการเพิ่ม ของภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุของรัฐบาลได้บ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีที่รัฐบาลต้องแบก รับภาระทั้งหมด
สังคมไทยควรจะต้องยึดหลักการ “การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน” เป็นแนวทางหลักอย่างที่ดำเนินการ มา ไม่ว่าจะเป็นประเทศญี่ปุ่นหรือไต้หวันก็หันมาให้ความสำคัญกับแนวคิดนี้ นอกจากการจัดระบบดูแล ผู้สูงอายุโดยเน้นการดูแลที่บ้านเป็นหัวใจ อย่างไรก็ตามควรจะต้องมีระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านใน ด้านองค์ความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ระบบการให้คำปรึกษาครอบครัวและผู้ดูแลจะมีบทบาท สำคัญเพื่อส่งเสริมและธำรงให้การดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีอุปสรรคน้อยที่สุด และควรส่งเสริม active ageing ในชุมชนโดยผลักดันการดูแลผู้สูงอายุโดยผู้สูงอายุ การดึงการมีส่วนร่วม 4 ให้ผู้สูงอายุมาร่วมดูแลผู้สูงอายุจะเป็นมาตรการที่ส่งเสริมทั้งการจ้างงานเพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้ การทำงาน อาสาสมัครเพื่อผู้อื่นเพื่อความภาคภูมิใจและการแสวงหาความหมายของชีวิตในช่วงบั้นปลาย หรือแม้แต่การมี ส่วนร่วมทางสังคมเพื่อสุขภาวะส่วนบุคคลอันจะลดความเสี่ยงสู่ภาวะพึ่งพา บทเรียนด้านการปรับปรุงที่อยู่อาศัยและมาตรการด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ จากสถานการณ์ใน ไต้หวันและประเทศญี่ปุ่นพบว่า มาตรการด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุควรจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ มาตรการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเดิม ทั้งกรณีของญี่ปุ่นและไต้หวัน การปรับปรุงบ้านสำหรับผู้สูงอายุที่ถูก ประเมินว่ามีภาวะพึ่งพาจะถูกจัดอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของการดูแลระยะยาว ผู้สูงอายุที่ถูกประเมินว่ามีภาวะ พึ่งพามีสิทธิที่จะได้รับเงินอุดหนุนในการปรับปรุงบ้านเพื่อให้เหมาะกับภาวะพึ่งพาของตนเอง และมาตรการ การหาที่อยู่ใหม่ มาตรการที่ใช้มีได้หลากหลาย เช่น มาตรการส่งเสริมให้ภาคเอกชนสร้างที่อยู่อาศัยพร้อม บริการดูแลสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่มีฐานะดี มาตรการอุดหนุนเงินให้ภาคเอกชนจัดที่อยู่อาศัยราคาถูกเพื่อ ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยภายในเขตเมือง เป็นต้น
Thai society has been changing to aging society, which the number and proportion of older population keeps on increasing, simultaneously, life expectancy of Thai population is increasing and total fertility rate is decreasing. Together with population ageing, urbanization has become a social phenomenon in Thailand. Therefore, to learn current situations and experiences of population ageing countries in East Asian, such as, Japan, Taiwan, will benefit Thai society because their success and/or challenging issues, as well as, policy responses can be more or less translated to policy implications for the Thai government. The objectives of this study are as follows; firstly, to explore the current situations on demographic, social, economic and health aspects of older persons in Japan and Taiwan, especially, in the metropolitan areas, secondly, to study about the supporting systems towards older population’ s quality of life in in Japan and Taiwan, focusing in the metropolitan areas, and, thirdly, to draw key policy implications for Thai aging society. The data used for our analysis is from various sources, such as official statistics and white papers, academic papers, statistical yearbooks and 10 population ageing experts’ interview in both Japan and Taiwan. In addition, we also visited 7 elderly care related facilities in Tokyo and Taipei and interviewed their managers or personnel in charge as well.
Prior to Thailand, Japan and Taiwan have been facing seriously population ageing, however, their governments have prepared a set of measures to cope with such demographic change comprehensively from economic, health, social and environments’ aspects. Nevertheless, dependent elderly care has probably become the most focused issue of both societies. In term of the comprehensiveness of policy response, Thai government has pushed a set of measure in the same manner as conducted in Japan and Taiwan, namely public pension schemes, health security, long- term care, older persons ‘ employment promotion schemes, housing for elderly. As shown below, there are still many lessons should be learnt from both Japan and Taiwan.
Thai government should promote local authorities to bear more responsibilities on social care and preventive care, including social participation, for the elderly. In addition, nongovernmental actors, such as, for- profit organization, start- ups, social enterprises, charity foundation, religious organization, community welfare organization, senior citizens’ clubs and volunteer groups, should be promoted to be a part of elderly are network in each community as well. The most important underlying rationale is to be able to cope and to response more diversified needs and wants of increasing and diversifying households with older persons. We learnt from Japanese and Taiwanese experiences that, there exist many types of services provided under both elderly care schemes and markets in both countries, for example, home care, home nursing, home bathing, day care services, short stays services, special care for specific needs, care support appliances rental services, home renovation, food catering services, home visit at night, house cleaning etc. The local authorities should act as information center or platform of those community care services and disclose them to the needy.
The government should establish and/ or strengthen the care network in community among various types of actors to increase continuity of services provision, efficiency and quality of care. Moreover, presuming letting non-governmental organizations to act as a service provider, the central government and/ or authorities can play various roles as financial supporter, a partner in the so- called public- private partnership’s relation, a regulator and/or an insurer. In another words, to revisit the division of labor in terms of elderly care is crucial for Thai society. Learning form Japanese and Taiwanese experiences, we have confirmed the fact that, how to finance elderly welfare will be a crucial issue in Thailand in the near future. We currently rely heavily on tax financing approach. To reconsider the reform towards social insurance orientation will support the financial sustainability of elderly welfare schemes, including public pension, health security and long-term care schemes.
Currently, Thai government is maintaining the philosophy of aging in place ( mainly emphasizing self-reliance of older persons, family and community support), however, support from outside is still necessary for family with dependent older persons. Local authorities can provide any support schemes to them as home care counsellor and care information center 7 of community. In addition, active older persons should be incorporated into community care as well. Older persons’ participation in care arena is beneficial for promoting employment and ikigai of older persons, as well as, for preventing from falling into dependency.
Last but not the least, from housing aspects, learning from both countries’ experiences, supportive measures should be categorized into two types. Firstly, house renovation should be positioned as a part of dependent elderly care scheme and provided for only dependent older persons. Secondly, measures towards new housing services for older person depends on target groups. Private sector has incentives to enter this market to provide housing services with care provision at the same to high- income elderly. However, special treatment for lowincome elderly ( with dependency) is also necessary in metropolitan areas because of expensive living standard.
# | File | File size | Downloads |
---|---|---|---|
1 | 3.6ระบบสนับสนุนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ-ศึกษาประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน | 5 MB | 209 |
© สงวนลิขสิทธิ์ 2022 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)