คู่มือแนวทางการจัดอบรมหลักสูตรโรงเรียนดิจิทัล เกษียณมีดี

คู่มือแนวทางการจัดอบรมหลักสูตรโรงเรียนดิจิทัล เกษียณมีดี

บทคัดย่อ

ประเทศไทยในปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรผ่านเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) มีการคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ.2583 จะมีผู้สูงอายุจำนวนประมาณ
20.42 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 31.28 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่จำนวนประชากรวัยแรงงาน(ผู้มีอายุระหว่าง 15-59 ปี) จะมีแนวโน้มลดลงเหลือเพียงร้อยละ 56 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งส่งผลทำให้อัตราส่วนพึ่งพิงของผู้สูงอายุเป็น 56.2 ต่อวัยแรงงาน 100 คน ในปี พ.ศ.2583 ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนในการที่จะเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาภาวะพึ่งพิงของคนสูงวัยที่มีอัตราส่วนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะความพร้อมทางด้านทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล(Digital Literacy) ในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ทั้งทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน หรือการบริหารธุรกิจวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการพลังเกษียณสร้างชาติ: ระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะงานในยุคดิจิทัลสำหรับผู้สูงวัย และระบบสนับสนุนเชิงเทคนิคของคนรุ่นใหม่สู่การนำไปใช้ที่ยั่งยืน โดยมีการดำเนินกิจกรรมคือ มีดี: ชุมชนคนมีดี มีดี:ตลาดคนมีดี และโรงเรียนผู้สูงอายุดิจิทัล “เกษียณมีดี” เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้เสริมสร้างประสบการณ์ออนไลน์สำหรับผู้สูงวัย และ
จัดทำคู่มือแนวทางการจัดอบรมหลักสูตรโรงเรียนดิจิทัล เกษียณมีดี ขึ้นเพื่อเสริมทักษะการเป็นวิทยากรที่ดีในการใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ “มีดี” (MEDEE Certified Trainer) แก่ครูและครูอาสาในเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุ ตลอดจนสามารถใช้เทคนิคและวิธีการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำความรู้ไปใช้ต่อยอดในกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุแต่ละพื้นที่ได้

การจัดทำหลักสูตรคู่มือฉบับนี้ เป็นการบูรณาการองค์ความรู้จากโรงเรียนผู้สูงอายุดิจิทัลที่จัดอยู่ใน
รูปแบบเว็บไซต์ย่อย (subsite) ของวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีระบบการใช้งาน
ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้ว นำมาประยุกต์ใช้กับการสอนด้านดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะ
การทำกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุต่าง ๆ ที่มีการดำเนินการเกือบทุกอำเภอในประเทศไทย
อันจะก่อให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างกว้างขวาง กระนั้น แม้จะมีความมุ่งหมายสร้างการเรียนรู้สำหรับ
ผู้สูงอายุเป็นหลักก็ตาม แต่บทเรียนในหลักสูตรโรงเรียนดิจิทัลเกษียณมีดีนี้ ยังมีความเหมาะสมต่อผู้สนใจทั่วไป
ทุกเพศทุกวัย ที่ต้องการเรียนรู้เมเติมด้านดิจิทัลและความรู้พื้นฐานของการเป็นผู้ประกอบการได้เช่นกัน

โครงการพลังเกษียณสร้างชาติฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “คู่มือแนวทางการจัดอบรมหลักสูตรโรงเรียน ดิจิทัล เกษียณมีดี” ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับการจัดอบรมและการเรียนการสอนในโรงเรียนผู้สูงอายุ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ด้านดิจิทัลและการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์สำหรับผู้สูงวัยใน ประเทศไทย และหากมีข้อเสนอแนะให้คู่มือมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น กรุณาส่งข้อเสนอแนะมายังวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อการปรับปรุงต่อไป

Abstract

แชร์

Facebook
Twitter
Email
พิมพ์
ให้คะแนน