การเตรียมการรองรับสังคมผู้สูงวัยภายใต้บริบทกระบวนการเปลี่ยนแปรงเป็นเมือง

การเตรียมการรองรับสังคมผู้สูงวัยภายใต้บริบทกระบวนการเปลี่ยนแปรงเป็นเมือง

Preparedness towards Aging Society in the Context of Urbanization

บทคัดย่อ

แผนงานวิจัยการเตรียมการรองรับสังคมสูงวัยภายใต้บริบทกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นเมือง มีวัตถุประสงค์ 3 ประการได้แก่ ประการที่หนึ่ง ศึกษาผู้สูงอายุในเมืองในแง่มุมต่างๆ ได้แก่ ประชากร สังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมภายใต้บริบท กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นเมืองที่เกิดขึ้นไปพร้อมกับการสูงวัยทางประชากร ศึกษาระบบสนับสนุนจากภาครัฐ แนวทางการบริหารจัดการเมืองในบริบทสังคมสูงวัย บทบาทของภาคส่วนต่างๆในสังคม ประการที่สอง ศึกษาบทเรียนของปัญหาผู้สูงอายุในเมืองและระบบสนับสนุนการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเมืองในเขตมหานครหรือเมืองใหญ่ในแถบเอเซียตะวันออกและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประสบ
ปัญหาลักษณะเดียวกันก่อนหน้า.ประเทศไทยอันได้แก่ ญี่ปุ่น และไต้หวัน และประการที่สาม เสนอข้อเสนอและมาตรการรองรับปัญหาผู้สูงอายุในเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้ทั้งบริบทสังคมสูงวัยและกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นเมือง ทั้งนี้แผนงานวิจัยประกอบด้วย โครงการวิจัยย่อย 2 โครงการ ได้แก่ โครงการวิจัยย่อยที่1 ระบบสนับสนุนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในเขตมหานคร: บทเรียนสำหรับประเทศไทยจาก
กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน และโครงการวิจัยย่อยที่ 2 การพัฒนาเมืองน่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุ แผนงานวิจัยโดยโครงการวิจัยย่อยที่ 1 ได้ดำเนินการสถานการณ์ปัจจุบัน ศึกษาตัวอย่างและบทเรียนเกี่ยวกับระบบสนับสนุนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในประเทศในเอเซียที่กำลังเผชิญสถานการณ์การสูงวัยทางประชากรอันได้แก่ประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน เพื่อหาตัวอย่างปฏิบัติทั้งที่เป็นการจัดโดยรัฐบาลหรือโดย
ภาคส่วนอื่นหรือโดยความร่วมมือระหว่างกัน ถอดบทเรียนสำหรับการกำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบสนับสนุนผู้สูงอายุและครอบครัวและการนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย ทั้งระบบสนับสนุนในมิติเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และที่อยู่อาศัย และการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ นอกจากนี้แผนงานวิจัยโดยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 ได้ศึกษาการออกแบบเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุและสภาพแวดล้อมทางกายภาพของที่อยู่อาศัยรวมถึงภูมิทัศน์ของพื้นที่สาธารณะโดยรอบ ให้เอื้อประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพจนได้ต้นแบบและมาตรฐานสำหรับสิ่งดังกล่าว รวมถึงได้ทราบถึงแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในกระบวนการสร้างความร่วมมือ การมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผน การสร้างกระบวนการ การเผยแพร่องค์ความรู้ และการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวกับมาร่วมดำเนินการด้วยกัน

Abstract

The research project “Preparedness towards Aging Society in the Context of Urbanization” has three objectives. Firstly, we study the current situations of elderly in the city in various aspects such as population, society, economy and environment under the context urbanization and population ageing. We also investigate the support system by the government and other potential
sectors, such as private sector, community, non-profits organization, etc. Secondly, we study the issues mentioned in the first objective and investigated some good practices in the aged society as Japan and Taiwan in order to draw some policy implications for Thailand. Thirdly, we propose
some potential proposals and measures to support the problems of the elderly in the city that will occur in the future under both the context of aging society and the process of urbanization in Thailand. The project consists of the first sub-project “Support Systems for Promoting Wellbeing
of Older Persons in Mega-cities: Lessons Learnt for Thailand from Case Studies of Japan and Taiwan” and the second one “The Development of Age Friendly City”. The first sub-project carried out the current situation analysis and studied examples pracctices and lessons about the support system for the quality of life of the elderly in Japan and Taiwan that are facing more serious population ageing, comparing with Thailand. We have investigated many examples of actions, either organized by the government or by other potential sectors or through cooperation among the government and the others. Those lessons learnt have brought some possible guidelines for the development of the elderly and family support system and their application to Thailand. Those include support systems in the economic, social, health,
and residential dimensions, as well as the community-based integrated elderly care. The second sub-project studied the design to improve the residences of the elderly including the physical environment of the residence including the landscape of the surrounding public areas in order to enhance their quality of life. As the project’s output, not only those protypes and standards have
been attained, the project can found out the appropriate guidelines for participation of all stakeholders and their cooperation platform’s development and key factors for “how to” plan, continue process, disseminate knowledge to the community and motivate all stake holders to work together and realize aged friendly community.

แชร์

Facebook
Twitter
Email
พิมพ์
ให้คะแนน