งานวิจัยนี้มีแนวคิดมาจากการขาดวิธีการในการประเมินการเข้าถึงได้ของเว็บไซต์และเว็บ
แอ็พพลิเคชั่นของไทย โดยการพัฒนาและประเมินเครื่องมือออนไลน์ WebThai2Access ให้นักพัฒนา
เว็บไซต์ใช้งานในการทำนายปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และผู้สูงอายุ ในการใช้งานเว็บไซต์ไทย การวิจัยดำเนินการโดยการ
ทบทวนวรรณกรรม และการประเมินการใช้งาน WebThai2Access กับนักพัฒนาเว็บไซต์จำนวน 30
คน ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นจำนวน 30 คน ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจำนวน 30
คน และผู้สูงอายุจำนวน 30 คน นักพัฒนาเว็บไซต์จำนวน 30 คน ได้ทำการประเมินเกณฑ์การเข้าถึง
เว็บไซต์ โดยใช้เกณฑ์การประเมินทั้งหมด 15 ข้อ ทำนายปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้
งานเว็บไซต์ของผู้ที่มีความบกพร่องแต่ละกลุ่ม โดยมีคะแนนเฉลี่ยในการประเมินการเข้าถึงได้ของ
เว็บไซต์ที่ 4.64 จาก 5 คะแนน ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักพัฒนาเว็บไซต์สามารถใช้งาน WebThai2Access
ในระดับดีมาก นักพัฒนาเว็บไซต์จำนวน 30 คน ประเมินเว็บไซต์ 3 เว็บไซต์ และให้ข้อเสนอแนะว่า
การใช้เกณฑ์การทดสอบมีความน่าเชื่อถือในการประเมินเว็บไซต์ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 15 ข้อ โดยมี
ค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นที่ 95% มีค่าความคลาดเคลื่อนของคะแนนช่วงบนและล่าง +-10% สำหรับทั้ง
เว็บไซต์พันทิป และยูทูป มีค่าความคลาดเคลื่อนของคะแนนช่วงบนและล่าง +-3% สำหรับเว็บไซต์
สมาคมคนตาบอด และไม่มีการทับซ้อนในการให้คะแนนระหว่างช่วงคะแนน 33% และ 67%
ผลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้
ยิน และผู้สูงอายุ พบว่า การใช้เกณฑ์การทดสอบสำหรับการประเมินเว็บไซต์เป็นไปตามเกณฑ์ 15 ข้อ
ค่าเฉลี่ยของค่าสูงสุดและต่ำสุดที่ความเชื่อมั่น 95% มีค่าความแตกต่างของคะแนนสูงสุดต่ำสุดที่
+- 0% สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา มีค่าคะแนนสูงสุดและต่ำสุดที่ +- 2 % สำหรับผู้สูงอายุ
มีค่าคะแนนสูงสุดและต่ำสุดที่ +- 5% สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน และระดับคะแนนไม่มีการ
ซ้อนทับกันระหว่างช่วงคะแนน 33% หรือ 67%
ผลการวิจัย พบว่า นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเข้าถึง WebThai2Access ได้ง่ายและสามารถ
นำมาใช้ในการประเมินเว็บไซต์ได้อย่างน่าเชื่อถือ การประเมินผลการคาดการณ์ในการเข้าถึงเว็บไซต์
สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และผู้สูงอายุได้ดี เพื่อ
ตรวจสอบว่า WebThai2Access สามารถนำไปใช้งานได้สำเร็จจริงโดยนักพัฒนาเว็บไซต์ในการแก้ไขปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ ผู้วิจัยได้มีการศึกษากรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ที่มีความ
บกพร่องทางการมองเห็น ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ผู้สูงอายุ และ นักพัฒนาเว็บไซต์ร่วมกัน
ปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีให้สามารถ
เข้าถึงได้โดยผู้ใช้กลุ่มดังกล่าว
This research addresses the lack of a method to help with the evaluation of
the accessibility of Thai websites and web applications by developing and evaluating
an online tool WebThai2 Access with developers, experts and disabled users. The
research was conducted by literature review, and evaluations with 30 developers, 10
hearing impaired people, 10 visually impaired people, and 10 elderly people. The
developers evaluated all 1 5 criteria while experimental tasks were given to each
disabled group based on the problems they have accessing information on web. The
average rating of 4.64 out of 5 showed developers found WebThai2Access very usable.
Thirty Thai web developers evaluated 3 websites and the result suggested that using
the test criteria was reliable for evaluating websites as for the 15 criteria the average
95% upper and lower confidence limits of the developer scores were +- 10% for both
Pantip and YouTube websites and +- 3% for blind association website and they did
not overlap the tool rating levels which were 33% or 67%. The results for the disabled
users suggested that using the test criteria were reliable for evaluating websites as for
the 15 criteria the average 95% upper and lower confidence limits were +- 0% for the
visually impaired +- 2% for the elderly and +- 5% for the hearing impaired and they
did not overlap the rating levels of 3 3 % or 67 % . The results showed that
WebThai2Access was very accessible and could be used reliably by developers and
their evaluations predicted the accessibility of websites for disabled users reasonably
well. To verify that WebThai2Access could successfully be used by a developer to first
identify and then correct problems in a website a case study was carried out involving
a blind user, a hearing impaired user, an elderly person, and the developer at
Suratthani Provincial Social Developer and Human Security Office.
# | File | File size | Downloads |
---|---|---|---|
1 | 5.28 การประเมินการเข้าถึงเว็บไซต์ไทยที่คนพิการและผู้สูงอายุเข้าถึงได้ | 4 MB | 33 |
© สงวนลิขสิทธิ์ 2022 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)