โครงการวิเคราะห์ความเพียงพอของการออมเพื่อการดำรงชีพของผู้สูงอายุในชุมชน: ระยะที่ 2

โครงการวิเคราะห์ความเพียงพอของการออมเพื่อการดำรงชีพของผู้สูงอายุในชุมชน: ระยะที่ 2

Analysis of Sufficient Saving Net Worth for Elderly Lives in Rural Communities: Phase 2

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นโครงการระยะที่ 2 ต่อเนื่องจากโครงการวิเคราะห์ความเพียงพอเพื่อการดารงชีพของผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อยืนยันผลการศึกษาพฤติกรรมและกลไกในการส่งเสริมการออมของครัวเรือน โดยการสารวจต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมระยะเวลาที่ยาวขึ้น การทดสอบความอ่อนไหวของปัจจัยที่กาหนดการออมที่เหมาะสมในรูปจาลอง การวัดผลกระทบของกลไกในการส่งเสริมการออม ระหว่างการให้ความรู้ทางการเงินและแรงจูงใจ การศึกษาความสัมพันธ์เบื้องต้นของ“ความกินดีอยู่ดี” (Subjective Well-being) และการออม ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อยกับครัวเรือน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจผลของการศึกษาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น การศึกษานี้พบว่า ปัจจัยที่กาหนดการออมในช่วงที่เป็นไปได้ ไม่มีความอ่อนไหวกับการออมที่เหมาะสม จึงสามารถมั่นใจได้ในผลการศึกษาเดิมที่ว่าการออมของครัวเรือนในชุมชน ไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับการออมที่เหมาะสมจากตัวแบบ กลไกส่งเสริมทางการเงิน ทั้งการให้ความรู้ทางการเงิน และแรงจูงใจ ไม่มีผลต่อการส่งเสริมการออมได้อย่างมีนัยสาคัญ และยังพบความสัมพันธ์เบื้องต้นของการออมกับการที่ครัวเรือนรู้สึกว่าได้ทาในสิ่งที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นมิติหนึ่งของ“ความกินดีอยู่ดี” ท้ายที่สุด จากการสัมภาษณ์และรับฟังความคิดเห็นจากครัวเรือน พบว่าพฤติกรรมการออมของคนเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนปัจจัยเชิงพฤติกรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย ในการออกแบบการส่งเสริมการออมที่เหมาะสม สาหรับครัวเรือนในชุมชน

Abstract

This research project is the second phase of “Analysis of Sufficient Net Worth for Elderly Lives in Rural Communities” project with the main objective to confirm the results of the previous project on household saving behaviors and mechanisms for enhancing their saving. This project resurveys the households to expand a period of the existing panel database, conducts sensitivity analysis of optimal saving to several parameters, re-evaluates the effects of financial literacy and incentive as saving-enhancement mechanisms, examines correlation between households’ subjective well-being and saving, as well as carries out in-depth interviews and focus groups for better insight of the study results. This project finds that optimal saving is not sensitive to the investigated parameters within the relevant ranges, confirming the previous conclusion that many households in the rural communities save inadequately compared to their optimal levels estimated by the model. Both financial literacy and incentive provision tested in the previous project are confirmed to have no significant effects on improving households’ saving. Besides, we find positive correlation between saving and valuables, which is a measure of subjective well-being. Finally, the data from the interviews and focus groups suggest that saving of households in rural communities depend on various economic conditions as well as behavioral factors, which make it challenging to design an appropriate saving-enhancement mechanism for everyone.