ภาวะเสี่ยงต่อการหกล้ม

ภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตราย และพบบ่อยในผู้สูงอายุโดยแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักประสบกับการลื่นล้มและครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระดูกหัก พบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีกเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การมองเห็นลดลง ความสามารถในการทรงตัว ลดลง เดินเซ การเคลื่อนไหวลำบาก ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทรงตัวบกพร่อง การเปลี่ยนแปลงของ ร่างกาย อาจส่งผลให้เกิดการพลัดตกหกล้มได้ซึ่งผลคาดการณ์ปี พ.ศ.2560-2564 มีผู้สูงอายุพลัด ตกหกล้ม ปีละประมาณ 3,030,900 -5,506,000 คน เสียชีวิตจำนวน 5,700 -10,400คน (นิพา และลวิตรา.2559)

ปัญหาหกล้มในผู้สูงอายุมีอันตรายกว่าคนวัยอื่นหลายเท่าตัว และในผู้สูงอายุยังมีความเสี่ยงต่อการหก ล้มได้ง่ายเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงและทรงตัวได้ไม่ดีพอ โดยในผู้ที่มี อายุ 65 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการหกล้ม 28-35% ส่วนในผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้นเป็น 32-42% ไม่เพียงเท่านั้นจากสถิติเกี่ยวกับการบาดเจ็บของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยัง พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากการหกล้มสูงเป็นอันดับ 2 รองจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน อีกด้วย

Clip VDO ความรู้ ภาวะเสี่ยงต่อการหกล้ม

หลากหลาย Clip VDO เสริมสร้างความรู้ ทั้ง Clip ภาพยนต์สั้น งามสัมมนา บทสัมภาษณ์ต่างๆ ทั้งเรื่องสุขภาพ อาหาร เทคโนโลยี เป็นต้น โดย วิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิมากมายหลากหลายสายงาน 

ดู Clip VDO

7 videos found

แผ่นภาพความรู้

แผ่นภาพความรู้ หรือ Infographic มาจากคำว่า Information + graphic อินโฟกราฟิกจึงหมายถึง การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นข้อมูลภาพ ซึ่งอาจประกอบด้วย สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ เป็นต้น ทำให้เข้าใจง่าย รวดเร็ว และชัดเจนมากขึ้น 

หลักสูตรสำหรับช่วยผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการหกล้ม

No posts found!