ความท้าทายของการที่ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมสูงอายุเป็นที่รับรู้กันในวงกว้าง และการขาดแคลน เงินออมเพื่อใช้ในยามชราเป็นปัญหาเกี่ยวเนื่องสำคัญที่สามารถป้องกันได้ กล่าวคือสามารถใช้แนวทางเชิงรุกได้ โดยจะต้องทำการวิเคราะห์ที่มาของปัญหาว่าเกิดจากอะไร โครงการวิจัยนี้จึงมีเป้าประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดจากการขาดการวางแผนการเงินที่เหมาะสมของประชากรไทย รวมทั้งทำความเข้าใจว่าทำไมประชากรบางกลุ่มถึงไม่วางแผนทางการเงินอย่างเหมาะสม และเสาะหามาตรการที่เหมาะกับบริบทของประชากรกลุ่มต่างๆ ในการส่งเสริมการวางแผนการเงิน เพื่อให้มีเงินออมเพียงพอสำหรับวัยเกษียณ และพยายามผลักดันให้มีการใช้มาตรการที่เหมาะสมที่ได้จากผลการศึกษาในวงกว้างผ่านสื่อสาธารณะ
การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การทบทวนและถอดบทเรียนปัจจัยกำหนดระดับการออมและ การลงทุนของประชากรกลุ่มต่างๆ เช่น ผลจากระดับรายได้ ทัศนคติความชอบ ความรู้ การเข้าถึงเครื่องมือทางการเงิน และมาตรการเพื่อส่งเสริมการวางแผนการเงินทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทยและมีอยู่ในต่างประเทศ และนำไปสู่การผลักดันให้มีการใช้มาตรการที่เหมาะสมทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติของ ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม และได้ใช้วิธี Design Thinking เพื่อทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้เห็นรูปแบบพฤติกรรม และนำผลมาร่วมกันระบุประเด็นปัญหาและแรงจูงใจในการออม รวมทั้ง มีการสัมภาษณ์ภาครัฐและเอกชนผู้ให้บริการด้านการวางแผนทางการเงิน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาและการผลักดันมาตรการที่ได้ผลสู่การนำไปใช้จริง รวมถึงการสื่อสารและเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณะเป็นระยะ ตลอดช่วงเวลาโครงการวิจัย ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ความสนใจของสังคม และแนวโน้มการดำเนินงานของหน่วยงานด้านนโยบาย
ผลจากกระบวนการ Design Thinking ประกอบกับกรอบแนวคิดและข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม ค้นพบจุดเปลี่ยน (turning point) ที่สำคัญของกลุ่มเป้าหมายต่อการออม คือ รายได้ของกลุ่มเป้าหมายเพียงพอหรือไม่ กลุ่มเป้าหมายมีช่องทางการออมที่เหมาะสมหรือไม่ และกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมุมมองทัศนคติต่อการออมอย่างไร เช่น ให้ความสำคัญกับปัจจุบันมากกว่าอนาคต ซึ่งแสดงถึงปัจจัยและคุณลักษณะที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของกลุ่มเป้าหมาย อันนำมาสู่ข้อเสนอชุดมาตรการที่มีโอกาสได้ผลในการส่งเสริมการออมการลงทุนของประชากรกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย 16 มาตรการ คือ 1) การออมภาคบังคับหรือกึ่งบังคับ 2) การออมผ่านภาษีมูลค่าเพิ่ม 3) การเพิ่มความน่าดึงดูดของ RMF และ กอช. 4) การส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงิน 5) Commitment device 6) การตั้งค่าเริ่มต้นที่เหมาะสม 7) การแจ้งเตือน 8) การแสดงผลค่าใช้จ่ายแบบรวมจากทุกบัญชี 9) การหักรายได้ก่อนถึงมือแบบมีความยืดหยุ่น 10) การให้คำปรึกษาทางการเงิน 11) Community การออมการลงทุน 12) Pension Dashboard 13) สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลของสหกรณ์ฯ สถาบันการเงินภาคประชาชน ฯลฯ 14) Upskill/Reskill 15) การช่วยเหลือทางสังคม และ 16) หลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะได้ทำการคัดเลือกมาตรการเพื่อมาทำการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) ประสิทธิผลของแต่ละมาตรการ ซึ่งจะดำเนินการในการศึกษาระยะถัดไป
Challenges posed by population ageing have been well-recognized issues in Thailand. Lack of retirement savings is one important problem related to the ageing population which could be prevent by analyzing the causes of problem and implementing appropriate active policies. The objectives of this research project are gaining greater understanding of the problem which stems from lack of financial planning, identifying appropriate measures that would lead to better financial planning and retirement savings among various groups in Thai society, and advocating for the implementation of the identified measures and policies through public communication.
Procedures in this study consist of (i) Literature review to identify determinants of savings and investment in various population groups such as income, attitude, knowledge, financial access, and also to identify savings promotion measures that have been used in Thailand and other countries. (ii) Design Thinking process to gain in-depth understanding of the population through several in-depth interviews, which were than used to identify patterns of constraints and motivations in savings. (iii) Interviews with relevant public agencies and private service provider in order to acquire relevant information and to advocate for measures and policies. (iv) Public communication about topics that are related to savings promotion and correspond with social interests and contexts at the time of communication.
Combined results from Design Thinking process and literature review have pointed that the key turning points in savings behavior are income level, access to financial service, knowledge, and attitude towards savings. The results also lead to a set of measures which are very likely to be able to increase savings and investments of the population. The set of measures and policies consists of 16 measures as follows. 1) Mandatory or semi-mandatory (automatic enrollment) savings scheme 2) VAT for savings 3) Increasing attractiveness of the RMF and the NSF 4) Promoting financial literacy 5) Commitment device 6) Setting appropriate default options 7) Reminder 8) Displaying consolidated expenses from all accounts 9) Income flexible deduction before receiving 10) Financial advisory 11) Community of savings and investments 12) Pension Dashboard 13) Promoting access to microfinance institution 14) Upskill/Reskill 15) Social assistances 16) Sufficiency Economy Principles. Some of the proposed measured will be selected and tested by experimental approach in the next study in order to assess the effectiveness of the measures.
# | File | File size | Downloads |
---|---|---|---|
1 | 2.5 มาตรการที่ได้ผลในการส่งเสริมการวางแผนทางการเงินของประชากรไทยสำหรับสังคมอายุยืน | 6 MB | 44 |
© สงวนลิขสิทธิ์ 2022 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)