การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้านการดูแลผู้สูงอายุ

การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้านการดูแลผู้สูงอายุ

Community Empowerment for Elderly Care

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน จานวน 62 คนซึ่ง
เป็นตัวแทนของแต่ละชุมชน มาให้การอบรมด้านการดูแลผู้สูงอายุเป็นเวลา 1 วัน มีการประเมินผลก่อน-หลังการ
อบรมและจัดตั้งเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อให้ความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน จากนั้น กลุ่ม
ตัวอย่างนาความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากการอบรมไปถ่ายทอดแก่คนในชุมชน จานวน 5 คน และติดตามประเมิน
การถ่ายทอดความรู้อีกครั้งหนึ่ง

ผลการวิจัย หัวข้อการอบรมที่ได้จากความต้องการของชุมชน 3 อันดับแรกประกอบด้วย1) โรคที่มากับวัย
สูงอายุ 2) โภชนาการสาหรับผู้สูงอายุ 3) ความเสี่ยงและการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้
ของอาสาสมัครสาธารณสุขทั้ง 3 หัวข้อก่อนการอบรมและหลังการอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ไม่แตกต่า งกัน
(11.20 ± 1.66, 11.12 ± 1.78) อาจเนื่องมาจากหัวข้อที่อบรมมีการรณรงค์การให้ความรู้จากหลายสื่อแล ะเป็น
หัวข้อที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านมีความรู้ดีอยู่แล้ว การติดตามการถ่ายทอดความรู้ โดยอาสาสมัคร
สาธารณสุข 1 คนไปถ่ายทอดความรู้แก่คนในชุมชน พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขส่งใบติดตามการถ่ายทอดควา มรู้
กลับมาจานวน 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 72.58 จานวนอาสาสมัครสาธารณสุขที่ถ่ายทอดความรู้แก่คนในชุมชน
ครบ 5, 4 และ 2 คน มีจานวน 42, 2 และ 1 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33, 4.44 และ 2.22 ตามลาดับ คะแนน
การถ่ายทอดความรู้ด้านโรคที่มากับวัยสูงอายุ ด้านโภชนาการ และด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยงและการป้องกัน
การหกล้มผู้สูงอายุมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.20, 3.94 และ 4.00 ตามลาดับ ด้านการได้รับคาแนะนาจาก อสม.
และด้านความเอาใจใส่ของเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.30 และ 4.01 ตามลาดับ
ค่าคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด 4.09 ซึ่งเป็นระดับค่าเฉลี่ยในช่วง 3.50 – 4.49 หมายถึง สามารถถ่ายทอดควา มรู้ได้
อย่างมาก

สรุปผลการวิจัย อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านมีความรู้ในหัวข้อหรือปัญหาที่พบบ่อยในชุมช นใน
ระดับดี ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชนในระดับมาก เครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนจะ
ช่วยเรื่องการประสานงานการแลกเปลี่ยน การขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกเมื่อเกิน ขีด
ความสามารถของชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านคือกลไกหลักที่จะทาให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุใน
ชุมชนมีความยั่งยืน

ข้อเสนอแนะ การสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านความรู้และการเขียนโครงการเพื่อขอทุนภายนอกแก่อาสาส มัคร
สาธารณสุขประจาหมู่บ้านมีความสาคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นองค์กรหลักในการดาเนินงาน
และบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือ
พื้นที่ เน้นการจัดบริการด้านสาธารณสุข โดยบูรณาการกับการบริการด้านสวัสดิการสังคม จึงมีบทบาทโดยตรงใน
การสนับสนุนให้เกิดระบบสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างยั่งยืน

Abstract

This research is quasi experimental design. The control groups contained 62 Village Health
Volunteers which each representing the communities. After one day training provided knowledge
for elderly care, all of them were evaluated before and after the training and had established a
network for elderly care in the community ; to share learning, help each other to pass on
knowledge and experience for 5 people in each community and reevaluate the following of
knowledge transfer.
Result: The topics were Diseases that come with aging; Nutrition for elderly; Risk analysis and
fall prevention for elderly which the most three topics of the training needs of the community.
The average knowledge score before and after the training were not different (11.20 ± 1.66, 11.12
± 1.78); possibly because the topics of interest were so common in the community and had been
the campaigning through various media. Following the transfer of knowledge; 45 Health
Volunteers submit a follow-up to the transfer of knowledge were 71.42%. The percentage of
volunteers to transfer knowledge to the community for 5, 4 and 2 people were 91.11, 0.04 and
0.02 respectively. The average score of gained knowledge in self- care; nutrition; risk analysis and
fall prevention of elderly through the transfer of knowledge were 4.20, 3.94 and 4.00 respectively.
The average score of the advice from health volunteer and care of the elderly in the community
care network were 4.30 and 4.01 respectively; the total average score was 4.09 which average
level during the 3:50 to 4:49 could mean of transfer knowledge highly.
Conclusion: The Health Volunteers had the ability to transfer knowledge and putting it into
practice. Network for the elderly care in the community will help to coordinate for knowledge
sharing and getting help from outside agencies when it exceeds the capacity of the community.
Health Volunteers were a key success for the sustainable elderly care in the community.
Suggestion: The Health Volunteer strengthening in knowledge and writing grant project
applications were important. Local governments had to be a major organizations in operating and
management for long term elderly care under the National Health Security Fund for local
residents by integrating with the social welfare. That would lead to sustainable elderly care.

แชร์

Facebook
Twitter
Email
พิมพ์
ให้คะแนน