ภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ คือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง อาการหลักๆคือผู้สูงอายุจะรู้สึกเบื่อหน่ายหรือเศร้า หรือทั้งสองอย่าง จากการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในปี พ.ศ. 2556 พบว่ามีผู้สูงอายุที่เข้าข่ายมีภาวะซึมเศร้าถึงร้อยละ 33 เราสามารถตรวจสอบ และสังเกตลักษณะอาการดังต่อไปนี้ ซึ่งเมื่อตรวจพบอาการที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุภายในบ้าน ควรรีบพาท่านไปพบจิตรแพทย์ เพื่อทำการรักษา และให้ความรัก ความเอาใจใส่ท่านให้มากขึ้นกว่าปกติ

  1. รู้สึกเบื่อหน่าย สนใจสิ่งต่างๆน้อยลง หรือหมดความสนใจ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต ไม่เบิกบาน ห่อเหี่ยว หดหู่ หรือเซ็ง
  2. รู้สึกเศร้าผู้สูงอายุจะเศร้าโศกเสียใจง่าย น้อยใจง่าย ร้องไห้ง่าย รวมถึงมักรู้สึกท้อใจ
  3. พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ ตื่นเช้ากว่าปกติ หรือนอนมากขึ้น หลับทั้งวันทั้งคืน หรือขี้เซา
  4. พฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลงเบื่ออาหาร ไม่ค่อยหิว หรืออาจกินจุขึ้น ของที่เคยชอบกลับไม่อยากกิน หรือบางรายอาจอยากกินของที่ปกติไม่กิน เช่น ของหวานๆ
  5. การเคลื่อนไหวของร่างกายเปลี่ยนแปลง ผู้สูงอายุอาจเคลื่อนไหวเชื่องช้าลง หรือเคลื่อนไหวมากขึ้น กระวนกระวาย
  6. กำลังกายเปลี่ยนแปลง อ่อนเพลียง่าย กำลังวังชาลดน้อยถอยลง รู้สึกไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเดิม ไม่ค่อยมีแรง บางรายอาจบ่นเกี่ยวกับอาการทางร่างกายหลายอย่างที่ตรวจไม่พบ สาเหตุ หรือมีอาการมากกว่าอาการปกติของโรคนั้นๆ
  7. ความรู้สึกต่อตนเองเปลี่ยนแปลงรู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด หรือรู้สึกแย่กับตัวเอง คิดว่าตนเองเป็นภาระของลูกหลาน ไม่มีความสามารถเหมือนที่เคยเป็น ความภาคภูมิใจในตัวเองลดน้อยลง อับจนหนทาง หมดหวังในชีวิต
  8. สมาธิและความทรงจำบกพร่องหลงลืมบ่อยโดยเฉพาะลืมเรื่องใหม่ๆ ใจลอย คิดไม่ค่อยออก มักลังเลหรือตัดสินใจผิดพลาด
  9. ทำร้ายตัวเอง ผู้สูงอายุบางรายที่มีอาการมากๆอาจรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ที่ต่อไป

Clip VDO ความรู้สำหรับผู้สูงวัยที่มีภาวะซึมเศร้า

หลากหลาย Clip VDO เสริมสร้างความรู้ ทั้ง Clip ภาพยนต์สั้น งามสัมมนา บทสัมภาษณ์ต่างๆ ทั้งเรื่องสุขภาพ อาหาร เทคโนโลยี เป็นต้น โดย วิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิมากมายหลากหลายสายงาน 

ดู Clip VDO

10 videos found

แผ่นภาพความรู้

แผ่นภาพความรู้ หรือ Infographic มาจากคำว่า Information + graphic อินโฟกราฟิกจึงหมายถึง การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นข้อมูลภาพ ซึ่งอาจประกอบด้วย สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ เป็นต้น ทำให้เข้าใจง่าย รวดเร็ว และชัดเจนมากขึ้น 

หลักสูตรสำหรับช่วยผู้มีปัญหาภาวะซึมเศร้า