ภาวะการมองเห็น

ภาวะการมองเห็น หมายถึงลักษณะการมองเห็นที่มีความผิดปกติและพบบ่อยในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะต่างๆ ในร่างกายย่อมเสื่อมถอย การมองเห็นอาจมีการเปลี่ยนแปลง เกิดอาการตามัว มองเห็นไม่ชัดเจน การหมั่นตรวจตาเป็นประจำ เพื่อติดตามสภาพความเปลี่ยนแปลง คัดกรองความผิดปกติของดวงตาตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกันความเสี่ยง รวมถึงส่งผลดีต่อการรักษาในกรณีที่เกิดความผิดปกติ ทำให้สามารถยับยั้งการรุกรานของโรคได้อย่างทันท่วงที ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง โรคตาที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และควรที่จะเฝ้าติดตามอาการอย่างระมัดระวัง

สายตาสูงวัยหรือสายตายาวตามอายุ (Presbyopia)

มีอาการตามัว มองเห็นสิ่งของในระยะใกล้ไม่ชัดเจน แต่การมองเห็นในระยะไกลยังคงชัดเจนเช่นปกติ บางรายอาจรู้สึกปวดตาเมื่อใช้สายตานานๆ หรือการมองเห็นในที่แสงจ้าและที่แสงน้อยเปลี่ยนแปลงไป มักเกิดในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
สาเหตุเกิดจาก เมื่ออายุมากขึ้นเลนส์ตาจะเริ่มแข็ง ตึง ขาดความยืดหยุ่น ขณะที่กล้ามเนื้อตาซึ่งทำหน้าที่ในการปรับกำลังของตาอ่อนแรงลง ทำให้การหักเหของแสงเพื่อมองภาพระยะใกล้ลดลง จนมองเห็นภาพในระยะใกล้ไม่ชัดเจน

ต้อกระจก (Cataract)

มีอาการตาพร่ามัวคล้ายฝ้าหรือหมอกบัง มองเห็นสีเพี้ยน เห็นภาพซ้อน ตามัวในช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวัน ตาไม่สู้แสงเมื่ออยู่กลางแดด หรือค่าสายตาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อต้อกระจกสุก อาจมองเห็นเป็นสีขาวขุ่นตรงรูม่านตา
สาเหตุเกิดจาก ความเสื่อมของเลนส์ตาเมื่ออายุมากขึ้น พบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิด อุบัติเหตุกับดวงตา การได้รับยาสเตียรอยด์ การถูกสารเคมี การได้รับรังสียูวีบ่อยๆ การใช้สายตามากเกินไป การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราปริมาณมากๆ รวมถึงโรคประจำตัว

ต้อหิน (Glaucoma)

เป็นความผิดปกติที่เกิดจากความเสื่อมของขั้วประสาทตา (Optic disc) ทำให้ภาพที่ส่งไปยังสมองลดน้อยลง ลานสายตาหรือความกว้างในการมองเห็นลดลง จนตามัว และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรในที่สุด ต้อหินไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า จึงนับเป็นอีกโรคหนึ่งที่ผู้มีความเสี่ยงควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ พบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคต่อหิน มีดังนี้ ความดันลูกตาสูง อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน ป่วยเป็นโรคที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด ใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน เคยบาดเจ็บหรือเคยผ่าตัดดวงตา สายตาสั้นหรือยาวมากเกินไป

วุ้นในตาเสื่อม (Vitreous Floaters)

มีอาการเห็นจุดดำ หรือเส้นคล้ายหยากไย่จำนวนมากลอยไปลอยมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเวลากลอกตา เห็นแสงวาบคล้ายแฟลชจากกล้องถ่ายรูปโดยเฉพาะในที่มืดหรือเวลากลางคืน หากวุ้นตาดึงรั้งจอตาฉีกขาด จนของเหลวซึมเข้าไป อาจทำให้จอตาลอกและสูญเสียการมองเห็นได้

มีอาการตามัว ตาพร่า มองเห็นไม่ชัดเจน เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นเงาดำตรงกลางภาพ ตาไม่สู้แสง ต้องใช้แสงสว่างมากขึ้นเพื่อมองเห็นให้ชัดเจนหรือเพื่อแยกแยะสี แยกใบหน้าผู้คนได้น้อยลงหรืออ่านหนังสือยากขึ้น ซึ่งร้ายแรงถึงขั้นอาจสูญเสียการมองเห็น พบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
สาเหตุเกิดจาก ภาวะเสื่อมของจุดรับภาพชัดบริเวณกลางจอประสาทตา ซึ่งเป็นจุดที่แสงกระทบและหักเหลงมาทำให้มองเห็นภาพชัดเจน เมื่อเกิดปัญหากับจอประสาทตาการรับภาพจึงได้รับผลกระทบ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น พันธุกรรม การสูบบุหรี่ ความดันเลือดและไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน แสงยูวี

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy)

เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ในระยะแรกของเบาหวานขึ้นตาอาจจะไม่มีอาการหรือความผิดปกติในการมองเห็นทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัว เมื่อจอประสาทตาเสียหายอาจมองเห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นจุดดำหรือหยากไย่ และอาจเป็นสาเหตุของการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ในที่สุด
เบาหวานขึ้นตาเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน หลอดเลือดที่จอตา (Retina) จึงได้รับความเสียหาย อักเสบ โป่งพอง มีเลือดออก ส่งผลต่อจอประสาทตาและการรับภาพ ปัจจัยเสี่ยงคือการเป็นเบาหวานมานาน ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี ความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลสูง รวมถึงการตั้งครรภ์และสูบบุหรี่

การป้องกันเบาหวานขึ้นตาทำได้โดยการตรวจตาเป็นประจำโดยไม่รอให้เกิดอาจการผิดปกติ รวมถึงต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต นอกจากนี้ยังต้องสังเกตภาวการณ์มองเห็นของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการรุนแรงที่จะส่งผลต่อการสูญเสียการมองเห็น

Clip VDO ความรู้ ภาวะการมองเห็น

หลากหลาย Clip VDO เสริมสร้างความรู้ ทั้ง Clip ภาพยนต์สั้น งามสัมมนา บทสัมภาษณ์ต่างๆ ทั้งเรื่องสุขภาพ อาหาร เทคโนโลยี เป็นต้น โดย วิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิมากมายหลากหลายสายงาน 

แผ่นภาพความรู้

แผ่นภาพความรู้ หรือ Infographic มาจากคำว่า Information + graphic อินโฟกราฟิกจึงหมายถึง การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นข้อมูลภาพ ซึ่งอาจประกอบด้วย สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ เป็นต้น ทำให้เข้าใจง่าย รวดเร็ว และชัดเจนมากขึ้น 

หลักสูตรสำหรับช่วยผู้มีปัญหาภาวะการมองเห็น