บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนวดแผนไทยต่อการลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อความสามารถใน การทํากิจวัตรประจําวัน ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรังโดยเปรียบเทียบกับการทํากายภาพบําบัด
รูปแบบงานวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุม และปกปิดผู้ประเมินผล
กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยนอกโรคหลอดเลือดสมองที่มีระยะเวลาเกิดโรคตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ร่วมกับมีภาวะ กล้ามเนื้อหดเกร็งที่ข้อศอกหรือข้อเข่าอย่างน้อย 1 มัดที่มีค่า Modified Ashworth scale (MAS) อย่างน้อยระดับ
1+ จํานวน 50 ราย
วิธีการศึกษา: แบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม คือ กลุ่มศึกษา (24 ราย) ซึ่งจะได้รับการนวดแผน ไทย และกลุ่มควบคุม (26 ราย) ทํากายภาพบําบัด โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่ โรงพยาบาลศิริราช สัปดาห์ละ 2 ครั้งติดต่อกันนาน 6 สัปดาห์ และติดตามที่ 10 สัปดาห์ ประเมินระดับความ เกร็งกล้ามเนื้อ ความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวัน ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล และคุณภาพชีวิต เปรียบเทียบสัปดาห์ที่ 0, 6 และ 10
ผลการรักษา: ที่ 6 สัปดาห์ กลุ่มศึกษามีอาการเกร็งลดลง ร้อยละ 70.8 กลุ่มควบคุมลดลงร้อยละ 61.9 เมื่อ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ไม่พบความแตกต่าง (p=0.286) ในด้านความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวันใน แต่ละกลุ่มเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มที่เริ่มต้น สัปดาห์ที่ 6 และ 10 พบว่ามีความสามารถเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่ม
ศึกษาและกลุ่มควบคุม (p=0.004, p=0.002) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (p=0.123) ในด้านความวิตกกังวลและซึมเศร้าเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่าที่สัปดาห์ที่ 6 มีค่าลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นที่สัปดาห์ที่ 10อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่าง ยกเว้นด้านความวิตกกังวลในกลุ่มศึกษา (p=0.012) ส่วนด้านคุณภาพชีวิต โดยรวมเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างในกลุ่มศึกษาในขณะที่กลุ่มควบคุมพบว่ามิติด้าน กายภาพและมิติด้านอารมณ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มไม่ พบความแตกต่างของผลต่างของคะแนนคุณภาพชีวิตที่ 6 และ 10 สัปดาห์ พบผลข้างเคียงระบบกระดูกและ กล้ามเนื้อในกลุ่มนวดมากกว่า ร้อยละของผู้ประเมินว่ารู้สึกกล้ามเนื้อเกร็งลดลงในกลุ่มนวดมีมากกว่า แต่ผู้ประเมินพึงพอใจมีน้อยกว่าการทํากายภาพบําบัด
สรุป: การศึกษานําร่องนี้ไม่พบหลักฐานว่าการนวดไทยให้ผลการรักษาที่แตกต่างจากการทํากายภาพบําบัด อย่างไรก็ตามทั้งสองวิธีนี้สามารถลดอาการเกร็ง ลดภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้า เพิ่มคะแนนความสามารถทาง กาย และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ 6 สัปดาห์ได้เช่นกัน แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในทุกผลลัพธ์ ส่วนผลระยะ ยาวหลังหยุดการรักษา พบว่าคะแนนวิตกกังวลและซึมเศร้าเพิ่มขึ้น และคะแนนคุณภาพชีวิตลดลงในกลุ่มนวด การศึกษานี้ยังพบแนวโน้มของการเกิดผลข้างเคียงระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ในกลุ่มนวดมากกว่า จำนวน
ผู้ป่วยที่ประเมินความพึงพอใจน้อยกว่า แม้ว่าผู้ป่วยที่รู้สึกว่ากล้ามเนื้อ เกร็งลดลงในกลุ่มนวดมีจำนวนมากกว่ากลุ่มทำกายภาพบำบัดก็ตาม
Objective: To study the efficacy of Thai traditional massage (TTM) in decreasing muscle spasticity, physical performance, anxiety and depression, and quality of life (QoL) in Thai Stroke patients compared to physical therapy (PT) program.
Design: Randomized controlled trial with blinded assessor.
Subjects: 50-outpatient stroke with onset more than 3 months, aged more than or equal to 50 years, able to communicate and having spasticity at elbow or knee muscles at least grade 1+ of Modified Ashworth Scale (MAS)
Methods: The study group (24 subjects) received TTM and control group (26 subjects) received PT program, twice a week for 6-week duration at Siriraj Hospital. Spasticity level, physical performance, anxiety and depression, and quality of life were measured at baseline, 6 and 10 weeks.
Results: At 6-week, the number of patients whose spasticity were decreased at least 1 grade were 70.8% vs. 61.9% in study and control groups respectively which was no statistical significance between groups (p=0.286). Comparing within group at the beginning, 6 and 10 weeks, both TTM and PT program can increase physical performance with p=0.004 and p=0.002, but those value was not different among groups (p= 0.123). Concerning psychological status, the anxiety and depression scores decreased at 6-week and increased at 10-week durations in both groups. The anxiety score in TTM was significant different (p=0.012). Within group comparison, there was not different of QoL score in TTM group whereas physical and emotion dimensions of QoL score in PT group showed statistically significant. However, no difference of mean difference of QoL score was found when compared between groups at 6- or 10-week durations. There were trend of increased adverse 112 events (AE) in musculoskeletal system in TTM more than PT group, as well as the percentage of patients who felt that their spasticity decreased. However, subjects who satisfied with TTM were less than in PT group. Conclusion: This preliminary report showed that no evidence to prove that TTM was different from PT program in decreasing muscle spasticity due to small sample size. However, both interventions can decrease spasticity, anxiety and depression scores, and increase functional ability and QoL at week 6. The long term outcomes after stop treatment were increasing anxiety and depression scores, while decreasing QoL score at week 10. The number of musculoskeletal system AE was much more in TTM group than PT group. The number of patients who satisfied with treatment in TTM was less even though number of patients who felt decreased spasticity was more in TTM group than in PT group.
# | File | File size | Downloads |
---|---|---|---|
1 | 1.2 การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองไทย | 994 KB | 313 |
© สงวนลิขสิทธิ์ 2022 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)